การใช้คำแสดงการรับรู้ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับกลางขึ้นไป

ผู้แต่ง

  • กิตติพศ วีรอนันตมิตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

คำแสดงการรับรู้, การสนทนาภาษาญี่ปุ่น, การถ่ายโอนทางภาษา, การถ่ายโอนทางการฝึกฝน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะการใช้คำแสดงการรับรู้「あいづち」ในการสนทนากับชาวญี่ปุ่นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยระดับกลางขึ้นไปโดยเปรียบเทียบกับการใช้คำแสดงการรับรู้ของชาวญี่ปุ่น เก็บข้อมูลโดยใช้ 1.แบบสอบถาม 2.การจำลองสถานการณ์การสนทนาในชีวิตประจำวันหัวข้อสนทนาอิสระ จากนั้นวิเคราะห์ผลการใช้คำแสดงการรับรู้

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1.ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้คำแสดงการรับรู้น้อย
2.ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้ภาษาไทยปะปนในการสนทนา
3.ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้กลุ่มคำうん系 ซึ่งเป็นกลุ่มคำที่ผู้เรียนพบเห็นบ่อยครั้งในหนังสือเรียน อีกทั้งใกล้เคียงกับคำแสดงการรับรู้ในภาษาไทย           
4.ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยใช้คำแสดงการรับรู้เพื่อส่งสัญญาณบอกผู้พูดว่ากำลังฟังอยู่มากที่สุด

สาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนชาวไทยใช้คำแสดงการรับรู้น้อยน่าจะมาจากพื้นฐานด้านวัฒนธรรมไทย ข้อจำกัดทางภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถภาษาญี่ปุ่น และเพิ่มโอกาส ในการใช้ภาษาญี่ปุ่นกับชาวญี่ปุ่นนอกห้องเรียนโดยใช้ช่องทางต่างๆ เช่น โปรแกรมสนทนาออนไลน์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้คำแสดงการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2558).มารยาทในการฟัง. สืบค้น 20 ธันวาคม 2562, จาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=350
กนก รุ่งกีรติกุล และคณะ,(2559) ทัศนคติ พฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 2, หน้า 247-280
Aoki Ataya (2010) Rapport Management in Thai and Japanese Social Talking during Group
Discussion.International Pragmatics Association. Vol.20 No.3, pp. 289-313
Iwasaki Shoichi and PreeyaIngkaphiromHorie (1998) The ‘Northridge Earthquake’ Conversations: Conversational Patterns in Japanese and Thai and their Cultural Significance.Discourse and society. Vol.9 No.4, pp. 502-529
Makino, S., Hatasa, Y., &Hatasa, K. (1997)Nakama: Japanese communication, culture. context. Boston: Houghton Mifflin.
カウィター・フォーンサターポーン(2012) 「タイ人日本語学習者のあいづちの使用実態 
 と使用上の問題―初中級レベルの高校生の調査より」チュラーロンコーン大学文学部 
 東洋言語学科修士論文.
船戸はるな(2017)「継続的なチャットによる日本語学習者の相づちの使用の変化 」 
『玉川大学リベラルアーツ学部研究紀要 』玉川大学リベラルアーツ学部,Vol.11,pp.19-28.
堀口純子(1988)「コミュニケーションにおける聞き手の言語行動」『日本語教育』日本語教育学会,Vol.64,pp.13-26.
堀口純子(1997)『日本語教育と会話分析』くるしお出版.
水谷信子(1983)「あいづちと応答」『講座日本語の表現 3話しことばの表現』筑摩書房
宮永愛子(2013)「日本語学習者の相づち表現の分析 : 接触場面の雑談データをもとに」『金沢大学留学生センター紀要』金沢大学留学生センター, Vol.16,pp.31-43.
村田晶子(2000)「学習者のあいづちの機能分析--「聞いている」という信号,感情・態度の表示,そしてturn-takingに至るまで」『世界の日本語教育. 日本語教育論集』Vol.10,pp.241-260.
許夏玲(2013) 「短期交換留学生に見られる日本語能力の変化とその学習環境」『東京学芸大学紀要. 総合教育科学系』東京学芸大学学術情報委員会, Vol.64,pp.359-366.
柳川子(2003)「日本語学習者を対象とした相づち研究の概観 」『言語文化と日本語教育』日本言語文化学研究会, pp.148-161.
劉丹丹(2012) 「勧誘会話における中日あいづちの対照研究」『香港城市大学.第九回国際 
  日本語教育・日本研究シンポジウム』香港城市大学,24-25日11月2012年
崔ハナ(2011)「日本人と韓国人のあいづち比較--あいづちの頻度、タイミング、機能について」『国文目白』日本女子大学文学研究科,Vol.64,pp.359-366.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29