กลอนดอกบ๊วย 32 บทใน มันโยฌู : เปรียบเทียบภาพลักษณ์ดอกบ๊วยใน มันโยฌู กับ โคะกิงวะกะฌู

Authors

  • อรรถยา สุวรรณระดา

Keywords:

กลอนญี่ปุ่น,, ดอกบ๊วย, มันโยฌู, โคะกิงวะกะฌู

Abstract

“เรวะ”(令和)ชื่อปีรัชศกใหม่ของญี่ปุ่นมีที่มาจากคำในบทเกริ่นนำกลอนดอกบ๊วย 32 บท(梅花の歌三十二首序)ในหนังสือรวมกลอน มันโยฌู (万葉集(まんようしゅう))หนังสือรวมกลอนญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยนารา กลอนดังกล่าวประพันธ์ขึ้นในงานเลี้ยงชมดอกบ๊วยที่จัดขึ้นที่บ้านของโอโตะโมะ โนะ ทะบิโตะ(大伴旅人(おおとものたびと))ที่ดะสะอิฟุ(大宰府(だざいふ))ในค.ศ.730  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของดอกบ๊วยในกลอน32 บทดังกล่าวใน มันโยฌู โดยจะเปรียบเทียบกับกลอนใน โคะกิงวะกะฌู(古今和歌集(こきんわかしゅう))หนังสือรวมกลอนที่สำคัญในสมัยเฮอัน การศึกษานี้จะช่วยให้เห็นความแตกต่างของภาพลักษณ์ดอกบ๊วยที่ปรากฏในกลอนญี่ปุ่นต่างสมัย จากการศึกษาพบว่าใน มันโยฌู กวีจะเน้นรูปลักษณ์ที่สวยงามน่าชมของดอกบ๊วยและจะสื่ออารมณ์ความรู้สึกแบบตรงไปตรงมา ในขณะที่ใน โคะกิงวะกะฌู กวีจะแสดงความรู้สึกนึกคิดที่ละเอียดอ่อนกว่า เช่น กล่าวถึงกลิ่นหอมของดอกบ๊วยหรือบรรยายภาพลวงของดอกบ๊วย ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่พบใน มันโยฌู

 

References

อรรถยา สุวรรณระดา. (2554). ประวัติวรรณคดีญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถยา สุวรรณระดา. (2559). กลอนญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

II Haruki. (2002). Yanagi. Kotenbungakushokubutsushi. 47(3). Gakutousha. (in Japanese)
Itou Haku. (2011). Shinpan Manyoushuu I. Kadokawagakugeishuppan. (in Japanese)
Kobayashi Shoujirou. (2009). Nihonkotenhakubutsujiten doubutsuhen. Benseishuppan. (in Japanese)
Komine Kazuaki. (2007). Uguisu. Shittokukotenbungakudoubutsushi. Gakutousha. (in Japanese)
Masuda Shigeo. (2002). Ume. Kotenbungakudoubutsushi. 47(3). Gakutousha. (in Japanese)
Miyaji Taka & Kanno Minako(1997). Yamatomanyounohana. Kyoutoshoin. (in Japanese)
Ozawa Masao. (1995). Nihonkotenbungakuzenshuu Kokinwakashuu. Shougakukan. (in Japanese)
Tada Kazuomi. (2008). Manyoushuuhandobukku. Sanseidou. (in Japanese)

Downloads

Published

2019-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย