ลำดับพัฒนาการการเรียนรู้รูปปฏิเสธของคำกริยาภาษาญี่ปุ่น - กรณีศึกษาผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชาวไทย -

Authors

  • เตวิช เสวตไอยาราม

Keywords:

รูปปฏิเสธในคำกริยาภาษาญี่ปุ่น, ลำดับพัฒนาการ, สถานการณ์ภาพที่ระบุให้ผันคำกริยา, ผู้เรียนชาวไทยระดับต้น

Abstract

 

งานวิจัยนี้ใช้วิธีศึกษาระยะยาว สำรวจลำดับพัฒนาการการผันรูปปฏิเสธของคำกริยาภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชาวไทยจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานการณ์ภาพที่ระบุให้นักเรียนผันคำกริยาออกมาเป็นรูปปฏิเสธ โดยคำกริยาที่ทดสอบมีทั้งหมด 12 ชนิด ชนิดละ 4 คำ ผู้วิจัยทดสอบทั้งหมด 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน รวม 9 เดือน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีลำดับพัฒนาการการผันรูปปฏิเสธแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดที่เกิดจากการจำกฏการผันของคำกริยากลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 สลับกัน เป็นความผิดพลาดที่พบเห็นมากที่สุด นอกจากนี้  คำกริยากลุ่มที่ 1 ที่ลงท้ายด้วย /su/ เป็นกลุ่มที่พบการผันผิดมากที่สุด ตรงข้ามกับคำกริยากลุ่มที่ 3 /suru/ ที่พบการผันผิดน้อยที่สุด โดยผู้เรียนชาวไทยพยายามประยุกต์ใช้กฎการผันรูปปฏิเสธของ /suru/ มาช่วยในการผันคำกริยาที่ลงท้ายด้วย /su/  ทั้งนี้กฎการผันเป็นรูปปฏิเสธของ /suru/  จดจำง่ายกว่ากฎการผันของ /su/  จึงส่งผลให้ผู้เรียนเลือกใช้กฏการผันที่ง่ายกว่าในการสร้างรูปปฏิเสธ

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). พิมพ์ครั้งที่ ๒ กรุงเทพมหานคร.
เตวิช เสวตไอยาราม. (2560). การเรียนรู้รูป て ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 34(2).
Kanagy, R. (1994). Developmental sequences in learning Japanese: a look at negation. Issues in Applied Linguistics 5(2), 255-278.
Vance, T. (1987). An introduction to Japanese phonology. New York: State University of New York Press.
小田佐智子.(2015).「タイ人配偶者の否定表現に関する事例研究-自然習得と教室学習を比較して-」『阪大日本語研究』27, 137-161.
家村伸子.(2001).「日本語の否定形の習得-中国語母語話者に対する縦断的な発話調査に基づいて-」『第二言語としての日本語の習得研究』4, 63-81.
家村伸子.(2003).「日本語の否定表現の習得過程-中国語話者の発話資料から―」『第二言語としての日本語の習得研究』6, 52-69.
小林ミナ.(2005).「日常会話にあらわれた「-ません」と「-ないです」」『日本語教育』125, 9-17.
野田春美.(2004).「否定ていねい形「ません」と「ないです」の使用に関わる要因-用例調査と若年層アンケート調査に基づいて-」『計量国語学』24 (5), 228-244.
野呂幾久子.(1995).「第二言語における否定形の習得過程-中国人の子どもの事例研究―」『静岡大学教育学部研究報告(人文・社会科学篇)』45, 1-12.
橋本ゆかり.(2011).「日本語を第二言語とする英語・仏語母語幼児の否定形の習得プロセス-スキーマ生成に基づく言語構造の発達―」『第二言語としての日本語の習得研究』14, 60-79.
バヤルマー・ナイダン.(2008).「動詞と形容詞の否定形の形成過程-モンゴル語を母語とするJSL年少学習者の場合―」『言語文化と日本語教育』35, 93-96.
福田規子.(2012).「日本語の活用形の習得における頻度の影響-自然環境学習者の縦断的発話データの否定形の分析―」『中国四国教育学会 教育学研究ジャーナル』10, 1-9.

Downloads

Published

2019-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย