แอลจีบีทีในสังคมการทำงานญี่ปุ่น
Keywords:
แอลจีบีทีปัญหาของแอลจีบีที, ข้อเรียกร้องของแอลจีบีที, ทัศนคติต่อแอลจีบีที, สังคมการทำงานญี่ปุ่นAbstract
การศึกษาเรื่องแอลจีบีทีในสังคมการทำงานญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเรียกร้องของแอลจีบีทีในบริบทการทำงานของสังคมญี่ปุ่นและเพื่อศึกษาทัศนคติของกลุ่มคนทำงานชาวญี่ปุ่นที่มีต่อแอลจีบีทีใช้วิธีเก็บข้อมูลเชิงเอกสารในการศึกษาปัญหาและข้อเรียกร้องของแอลจีบีทีผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของแอลจีบีทีในสถานที่ทำงาน ได้แก่ ปัญหากลั่นแกล้งและความรุนแรง ปัญหาการหางาน ปัญหาด้านนโยบาย และปัญหาการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง (Coming Out) ซึ่งปัญหาเหล่านั้นนำไปสู่ข้อเรียกร้องของแอลจีบีทีต่อองค์กรให้ดำเนินนโยบายตามที่คาดหวัง โดยนโยบายที่เลสเบี้ยน (Lesbian) เกย์ (Gay) และ ไบเซ็กชวล (Bisexual) ต้องการมากที่สุดคือ การให้สวัสดิการแก่คู่รักเพศเดียว และนโยบายที่คนข้ามเพศ (Transgender) ต้องการมากที่สุดคือ นโยบายให้ความสำคัญกับพนักงานที่อยู่ในภาวะความไม่พอใจเพศของตนเอง (Gender Identity Disorder)
ในการศึกษาเรื่องทัศนคติที่มีต่อแอลจีบีทีใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการสำรวจพบว่า พนักงานชาวญี่ปุ่นไม่มีภาพลักษณ์อะไรเป็นพิเศษและคิดว่าแอลจีบีทีเป็นคนปกติ (ร้อยละ 50.3) และมีแนวโน้มยอมรับแอลจีบีทีในสถานะเพื่อนร่วมงาน (ร้อยละ 83.6) อีกทั้งพนักงานยังเห็นด้วยกับให้สวัสดิการแก่คู่รักเพศเดียวกัน (ร้อยละ 94.2) แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของกลุ่มทำงานที่มีแนวโน้มรับรู้ถึงปัญหาและการมีอยู่ของแอลจีบีทีรวมถึงยอมรับแอลจีบีทีมากยิ่งขึ้น ในระดับประเทศมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแอลจีบีทีส่งผลให้องค์กรบางส่วนดำเนินนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายเหล่านั้น เช่น นโยบายป้องกันความรุนแรง นโยบายห้ามแบ่งแยกระหว่างเพศ เป็นต้น ทว่าจำนวนองค์กรที่ดำเนินนโยบายต่อพนักงานแอลจีบีทียังมีน้อยมากและนโยบายส่วนใหญ่ยังไม่ครอบคลุมถึงความต้องการของพนักงานแอลจีบีที
References
LGBT Thailand. (2561). 'LGBT Study' course. New courses in America that is not just about 'SEX'. Retrieved 4 July 2019 from https://lgbtthai.com/news--ข่าวสาร/เปิดหลักสูตร-lgbt-ศึกษา-หล/ (in Thai)
World Bank Group. (2016). Economic Inclusion of LGBTI Groups in Thailand in 2018. The World Bank Group.
Nakanishi Eri. (2017). 「LGBT no Genjou to Kadai -Seiteki Shikou Matawa Seijinin ni Kansuru Sabetsu to Sono Kaishou e no Ugoki-」. Rippou to Chousa, pp.3-17. (in Japanese)
Naito Nishibu. (2017). Shokuba ni okeru Seitekishikou・Sei-jinin (SOGI) ni Kansuru Mondai to Houseisaku no Kadai. Roudou Chousa, 4-9. (in Japanese)
Hakuhudo DY Group. (2017). Hakuhodo DY Group no Kabushikigaisha LGBT sougoukenkyuush Chousa Report Dai 2-dan wo Happyou. Retrieved 15 June, 2018 from https://www.hakuhodo.co.jp/uploads/2017/02/20170208-1.pdf (in Japanese)
Kousei Roudoushou. (n.d.). Seidouitsuseishougai. Retrieved 2 June, 2018 From https://www.mhlw.go.jp/kokoro/know/disease_gender.html (in Japanese)
Hattori Yasushi. (2017). LGBT Seisaku no Doukou to Kigyou no LGBT Taiou no Joukyou. Kikan Seisaku Keiei Kenkyuu, 91-101. (in Japanese)
Muraki Maki. (2015). LGBT ga Hataraki Yasui Shokuba-dzukuri e Muketa Kigyou no Torikumi. Kikan Roudou-sha no Kenri, pp.47-53. (in Japanese)
Muraki Maki. (2018). LGBTto Shokuba Kankyou. Gekkan Jichi-ken, pp.26-34. (in Japanese)
Muraki Maki, Goto Junichi, Yanagisawa Masakazu. (2015). Shokuba no LGBT Dokuhon: 'Arinomama no Jibun' de Hatarakeru Kankyou wo Mezashite. Tokyo-to: Jitsumukyouikushuppan. (in Japanese)
Tokyobengoshikai LGBT Houmu Kenkyuubu. (2017). LGBT Houritsu Soudan Taiou Gaido. Tokyuto: Daiichihouki Kabushikigaisha. (in Japanese)
Toyo Keiai CSR. (2018). 2019 Nenban LGBT e no Taiou Kihon Houshin 'Ari' 330 Sha wo Shoukaishimasu. Retrieved 12 February 2019 from http://csrblog.toyokeizai.net/csr/2018/12/2019lgbt330-1ba3.html (in Japanese)
Morinaga Takahiko. (2018). LGBT wo Shiru. Japan: Nikkei Bunko. (in Japanese)