บทวิจารณ์หนังสือ: เด็กหญิงผู้ชูธงขาว

ผู้แต่ง

  • กวินธร เสถียร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

วิจารณ์หนังสือ, ธงขาว, เกาะโอกินาวา, สงครามเอเชีย-แปซิฟิก

บทคัดย่อ

พื้นธงสีขาวอันมีวงกลมสีแดงอยู่ตรงกลาง คือสัญลักษณ์ความเป็นชาติของชนชาวญี่ปุ่น แต่หากปราศจากวงกลมสีแดง ธงขาวโพลนนั้นก็เป็นดั่งสัญญะที่แสดงถึงภาวะจำยอม กระนั้นก็ตามธงผืนนี้กลับประกาศก้องถึงความปิติยินดีของ "การมีชีวิตรอด" และกลายเป็นประวัติศาสตร์สงครามที่สะท้อนถึงความโหดร้ายทารุณ

เรื่องเล่าจากธงผืนเล็กๆถูกตีแผ่ผ่านวรรณกรรมเรื่องเด็กหญิงผู้ถือธงขาวเขียนโดยโทริโกะอีกา ในชื่อ the girl With The White Flag แปลโดยฉัตรนคร องคสิงห์ ตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ 2553 จำนวน 176 หน้า พร้อมภาพประกอบโดยสำนักพิมพ์มติชน เนื้อหาแบ่งเป็น 6 บท โดยบทที่ 1-5 มี 10 ตอนบทที่ 6 มี 3 ตอนและเนื้อหาส่วนท้ายมี 1 ตอนรวมทั้งหมด 24 ตอน ผู้เขียนบรรยายถึงการเอาชีวิตรอดจากสงครามเอเชียแปซิฟิก บนเกาะโอกินาว่า ชะตากรรมของประชาชนผู้อพยพ และชีวิตของทหารที่ล้มตาย บ้างกลายเป็นเพชฌฆาตให้กับเพื่อนร่วมชาติตนเอง แม้เรื่องราวจะเจ็บปวดแต่ผู้อาจจะพบว่าในสงครามยังคงมีความรัก ความเห็นอกเห็นใจ และความหวังที่จะมีชีวิตรอด กลวิธีการเล่าโดยใช้เด็กเป็นตัวละครหลักย่อมสร้างความสะเทือนใจ แต่ได้สร้างความหมายต่อความทรงจำในสงคราม นอกเหนือจากเป็นเครื่องมือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้รู้ว่าสงครามไม่ดีอย่างไรแล้ว ผู้อ่านจะได้รู้จักโอกินาว่าในมุมมองที่ต่างไป แม้เรื่องเล่าจากหนังสือจะมีลักษณะเกล็ดทางประวัติศาสตร์มากกว่านำเสนอข้อมูลเชิงลึก ที่มา หรือลำดับเหตุการณ์ของสงคราม แต่ผู้เขียนได้อ้างถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้ผู้อ่านศึกษาเพิ่มเติมต่อไป สำหรับคนไทย สงครามอาจเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป แต่เรื่องจริงของเด็กหญิงวัยเพียง 7 ขวบ จะได้เป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่คนทั่วไปได้เป็นอย่างดี ไม่เฉพาะสำหรับเยาวชนเท่านั้น ที่สมาคมห้องสมุดอเมริกันยกย่องให้เป็นหนังสือแนะนำ แต่เหล่าผู้นำของชาติต่างๆก็สมควรได้รับคำแนะนำให้อ่านเช่นกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-02