ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น: หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ถึงก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา

ผู้แต่ง

  • นิภาพร รัชตพัฒนากุล

บทคัดย่อ

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ความสัมพันธ์ไทยและญี่ปุ่นในมิติทางวัฒนธรรมมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนนักเรียนไทยที่ไปศึกษาต่อยังญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทเอกชนญี่ปุ่นต้องการลดบทบาทของพ่อค้าชาวจีนในเครือข่ายการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เพื่อแก้ปัญหาการบอยคอตสินค้าญี่ปุ่นของชาวจีน จึงหันมาส่งเสริมการสร้างบุคลากรชาวไทยขึ้นแทนที่ ขณะเดียวกันคนชั้นกลางในไทยเองก็มีความสนใจในการประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น แต่เนื่องจากความล้าหลังของการศึกษาภายในประเทศในสาขาวิชาอย่างวิศวกรรม พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ดังนั้นการไปศึกษาต่อยังประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าประเทศทางตะวันตกมากจึงกลายเป็นทางเลือกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามรัฐบาลญี่ปุ่นในขณะนั้นยังไม่ให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ ดังนั้นกิจกรรมทางวัฒนธรรมในระยะแรกจึงเกิดจากความกระตือรือร้นของอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกรุงเทพเป็นหลัก โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนญี่ปุ่น จนกระทั่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นได้วางนโยบายด้านวัฒนธรรมต่อไทยในปลาย พ.ศ.2481 จึงได้ตั้งสถานศึกษาวัฒนธรรมญี่ปุ่นไทยขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศ อันเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมพร้อมเข้าสู่การสร้างวงไพบูลย์ร่วมกันแห่งมหาเอเชียบูรพาในช่วงสงคราม

Downloads