ผลกระทบที่เกิดจากการยกเลิกกÓแพงภาษีนÓเข้าเครื่องนุ่งห่ม จากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น (JTEPA)
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ทั้งสินค้าเครื่องนุ่งห่มจากประเทศไทยไปยังญี่ปุ่น และสิ่งทอ (ผ้าผืน) จากประเทศไทยไปยังเวียดนาม หลังจากการยกเลิกกำแพงภาษีนำเข้าเครื่องนุ่งห่ม จากประเทศไทยไปยังญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น(JTEPA) ว่าส่งผลอย่างไรต่อ (1) ความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐาน ทั้งปัจจัยทุนและแรงงาน ปัจจัยการผลิตขั้นกลางในอุตสาหกรรมอื่นๆ (2) ผลผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึง (3) ผลกระทบในวงกว้างของระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีโครงสร้างการผลิตเชื่อมโยงในหลายอุตสาหกรรม จึงสามารถวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองคำนวณดุลยภาพทั่วไป ประกอบกับไม่มีงานศึกษาใดที่ศึกษาเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคี โดยใช้แบบจำลองดังกล่าว
จากผลการศึกษาพบว่า หากการยกเลิกกำ แพงภาษีนำเข้าเครื่องน่งุห่ม ภายใต้ข้อตกลง JTEPA ทำให้ส่งออกสนิ ค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตความต้องการใช้ปัจจัย แรงงานและปัจจัยทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้สาขาการผลิตที่ได้รับประโยชน์คือ สาขาอุตสาหกรรมต้นน้ำ สาขาอุตสาหกรรมกลางน้ำ สาขาเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และสาขาการผลิตเครื่องแต่งกาย รวมถึงสาขาการผลิตไฟฟ้า ส่วนสาขาการบริการมีปริมาณผลผลิต ความต้องการใช้ปัจจัยแรงงานและปัจจัยทุนลดลงมากที่สุดอย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ส่งผลให้ผลตอบแทนปัจจัยทุนเพิ่มขึ้นแต่ผลตอบแทนปัจจัยแรงงานลดลง ดัชนีราคาสินค้าเฉลี่ยจึงเพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงพบว่า เมื่อส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ส่วนภาคการค้าระหว่างประเทศพบว่า จากการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีการส่งออกโดยรวมและการนำ เข้าโดยรวมเพิ่มขึ้น ทำให้มีดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้น