การศึกษาแนวทางพัฒนาการให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ ตามกรอบปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญา และการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาอาชญากรรมทางเพศมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่การรายงานเพื่อขอรับความช่วยเหลือและแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้ที่กระทำผิดมีสัดส่วนน้อยกว่าความเป็นจริงมาก การวิจัยนี้จึงศึกษาปัญหาและอุปสรรค และจัดทำข้อเสนอแนวทางพัฒนาการให้ความช่วยเหลือตามกรอบปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญาและการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985 เพื่อให้ผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศมั่นใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมและกล้าเปิดเผยตัวตนรายงานเหตุการณ์หรือแจ้งความดำเนินคดี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม มีผู้เข้าร่วมการวิจัย 36 คน ใช้การวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัยตามแนวคิดทฤษฎีเหยื่อวิทยา อาชญาวิทยาและหลักปฏิบัติที่เป็นสากล พบว่า การให้ความช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ มีปัญหาอุปสรรคในด้านกฎหมาย ด้านระบบงาน ด้านบุคลากร ด้านผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศและผู้กระทำความผิด โดยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายเพื่อขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือ บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นเพื่อสนับสนุนระบบการให้ความช่วยเหลือและจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมทางเพศเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นหน่วยให้การช่วยเหลือที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ตกเป็นเหยื่อ และเสริมพลังให้กลับไปใช้ชีวิตในสังคมต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2564). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2563. https://www.dwf.go.th//storage/55535/6b6cea1f-1b4d-4ec5-9e78-c584e9e434a1-document-5873.pdf
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2564. https://www.dwf.go.th//storage/55536/653d4dd1-5ed5-42be-b1c4-ae467f5a90a2-document-5874.pdf
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2566). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ประจำปี 2565. https://www.dwf.go.th//storage/77313/2dc3ce63-ad87-446f-b8c5-015f145c7905-document-6066.pdf
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2565). งานคุ้มครองบ้านพักเด็กและครอบครัว. https://www.dcy.go.th/content/1653038117275/1653038247085
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา. (2561). คู่มือการช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมแบบบูรณาการ. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ.
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา. (2567). แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา เล่มที่ 4 (ฉบับแก้ไขครั้งที่ 2). กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ.
คมชาญ ลิ้มเทียนเจริญ. (2560). มาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายในคดีข่มขืนกระทำชำเรา [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนะรัตน์ ผกาพันธ์. (2560). มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย [สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณรงค์ ใจหาญ, ณภัทร สรอัฑฒ์, วีระศักดิ์ แสงสารพันธ์, และปิยะมาศ กิจวีรวุฒิ. (2561). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1). กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ.
พรชัย ขันตี, จอมเดช ตรีเมฆ, และกฤษณพงศ์ พูตระกูล. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์. ส.เจริญการพิมพ์.
พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558. (2558, 27 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 102 ก. หน้า 1.
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544. (2544, 12
พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 118 ตอนที่ 104 ก. หน้า 23.
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2559 (ฉบับ 2). (2559, 22 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1.
พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546. (2546, 20 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 58 ก. หน้า 4.
พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565. (2565, 26 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 139 ตอนที่ 52 ก. หน้า 15-19.
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477. (2478, มิถุนายน 2478). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 52. หน้า 598-721.
พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565. (2565, 25 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 66 ก. หน้า 6-20.
วรรณนิศา สุขสวัสดิ์. (2562). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559) [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วรารัตน์ แสงดำ. (2560). แนวทางพัฒนาคำแถลงผลกระทบต่อเหยื่ออาชญากรรมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด. (2561). เหยื่ออาชญากรรม: สิทธิและการช่วยเหลือเยียวยา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด, วรรณพร เตชะไกศิยวณิช, และทองใหญ่ อัยยะวรากูล. (2559). รายงานการศึกษาโครงการศึกษาแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลระบบการให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่ออาชญากรรมโดยเฉพาะและครบวงจร: กรณีศึกษาประเทศสวีเดน. กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ.
สำนักงานกองทุนยุติธรรม. (ม.ป.ป.) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2559. https://jfo.moj.go.th/page/jfolaw3_1.php
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 855/2548 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าวการแถลงข่าวการให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชนและการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์. https://www.ilaw.or.th/wp-content/uploads/2014/10/Police-Order-1.pdf
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง. (2564). สถิติฐานความผิดคดีอาญาคดีอาญา 4 กลุ่ม พ.ศ. 2564. http://thaicrimes.org/pdf/crimes/2564.pdf
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง. (2565). สถิติฐานความผิดคดีอาญาคดีอาญา 4 กลุ่ม พ.ศ. 2565. http://thaicrimes.org/pdf/crimes/2565.pdf
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง. (2566). สถิติฐานความผิดคดีอาญาคดีอาญา 4 กลุ่ม พ.ศ. 2566. http://thaicrimes.org/pdf/crimes/2566.pdf
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). กฎ ระเบียบ ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/nhso_rules.pdf
สมาน คชกฤษ. (2563). รายงานการศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ[การศึกษาค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อมรรัตน์ อริยะชัยประดิษฐ์ นิ่มหนู. (2558). สิทธิของเหยื่ออาชญากรรมในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(3), 268-279. https://webopac.lib.buu.ac.th/bibitem?bibid=j00147804
Miers, D. (1997). State compensation for criminal injuries. Oxford University Press.
United Nations Entity for Gender Equality and the Empowerment of Women, United Nations Development Program, and United Nations Office on Drugs and Crime. (2017). รายงานสรุปการพิจารณาคดีข่มขืน ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อความรุนแรงทางเพศในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม (จงเจริญ ศรแก้ว กริมสมันน์, ผู้แปล). สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน).
United Nations Office on Drugs Control and Crime Prevention (UNODCCP). (1999). Handbook on justice for victims. Center for International Crime Prevention.
Von Hentig, H. (1948). The criminal and his victim: Studies in the sociobiology of crime. Yale University Press.