การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

ศิวาพร ใจหล้า
ณัฎฐนิช มณีวรรณ
ณัฐกานต์ ประจันบาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างของอิทธิพลที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตามโมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 150 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์โมเดลตามทฤษฎีสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยความฉลาดทางอารมณ์และทักษะทางสังคมมีอิทธิพลรวมต่อการปรับตัวเท่ากับ 0.866 และ 0.540 ตามลำดับ ความฉลาดทางอารมณ์และทักษะทางสังคมมีอิทธิพลทางตรงต่อการปรับตัวเท่ากับ 0.378 และ 0.540 ตามลำดับ ความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัวเท่ากับ 0.488 และความฉลาดทางอารมณ์มีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะทางสังคมเท่ากับ 0.904 ผลการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า p-value ที่มีค่ามากกว่า .05 (p = 0.0754) ค่า CFI, TLI เข้าใกล้ 1 และค่า SRMR เข้าใกล้ 0

Article Details

How to Cite
ใจหล้า ศ., มณีวรรณ ณ., & ประจันบาน . ณ. (2025). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของนิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 11(2), 81–104. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/270626
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา พงษ์สุภา และประสงค์ สายหงส์. (2561). การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย เรื่อง การทำขนมไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 97-17.

กองแก้ว เมทา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางจิตวิญญาณกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 จังหวัดพิจิตร. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ขจร บุตรแสงโคตร และวัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1) , 273-287.

ชญานิษฎ์ สุระเสนา และคณะ. (2559). การให้คำปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 6(10), 71-85.

ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐฌาภรณ์ เดชราช และคณะ. (2564). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาโครงการศึกษาต่อเนื่อง 2 + 2 และ 3 + 1 ภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 40(1), 1-22.

ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมสร้างสุขสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางอารมณ์ และสังคมร่วมกับทฤษฎีการปรับตัวของรอย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐอานนท์ ช่อคง. (2563). หน้าที่ทางสังคมและทักษะทางสังคมที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษา แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญรดี กองมณี. (2563). สุขภาพจิต ทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพเก้า ฉันทสิริกุล และสุปาณี สนธิรัตน. (2563). ทักษะทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกโดดเดี่ยว ของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (บทความวิจัย). การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2563,กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

นันทพร กุลชนะธารา. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านจิตสังคมของการปรับตัวของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์รัชญาดุษฎีบัณฑิต สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิลญา อาภรณ์กุล และศิริลักษณ์ ศุภปิติพร. (2560). การปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1. วารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัย, 61(5), 632-645.

นิอบิณูรอวี บือราเฮง. (2558). ผลของการสอนแบบบูรณาการด้วยการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสื่อประสมและนวัตกรรม คุณลักษณ์ศึกษาด้านทักษะทางสังคมที่มีต่อพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ศาสนประวัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นุชนาถ อูมูดี. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นุชรี บัวโค. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บัญญัติ นุชอ่อง. (2558). ปัจจัยทำนายการปรับตัวของผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง. (วิทยานิพนธ์รปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212ง. หน้า 21-33.

ไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. 2562. การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์กับผู้บริหารยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 12-26.

ภาณุมาศ หอมบุญยงค์. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูมิวรพล กุณทา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรพรรณ กระต่ายทอง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม สำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษา. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 11(2), 141-165.

วัณยรัตน์ คุณาพันธ์ และคณะ. (2561). การศึกษากระบวนการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(2), 90-103.

วิเชียร วิทยอุดม และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 3(2), 73-88.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2551). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษะของคนไทยที่พึงประสงค์: ความฉลาดทางอารมณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อังคณา ศิริอำพันธ์กุล. (2562). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(2), 275-290.

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. Bloomsbury Publishing Plc.

Hair, J. F., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Black, W. C. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed.). Cengage.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed.) Guilford Press.

Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3(2), 163–171. https://doi.org/10.1207/S15327574IJT0302_5

Soper, D. (2019). Statistics calculators. https://danielsoper.com