แนวทางการจัดการระบบน้ำประปาภูเขาในภาวะภัยแล้ง: กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาด้านวัสดุ อุปกรณ์ของระบบน้ำประปาภูเขาและการใช้น้ำของประชาชน และ 2) สังเคราะห์แนวทางการจัดการระบบน้ำประปาภูเขาในภาวะภัยแล้งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บนฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำแม่เลาะ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 180 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างระบบน้ำประปาภูเขาขาดการซ่อมแซม การปรับปรุง และการดูแล ในภาวะภัยแล้ง ประชาชนมีการใช้น้ำประปาภูเขาในครัวเรือนโดยรวมเฉลี่ยในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ± 0.73) ในส่วนของแนวทางการจัดการระบบน้ำประปาภูเขาในภาวะภัยแล้งมีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการโดยสนับสนุนงบประมาณและสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลโครงสร้างระบบน้ำประปาภูเขาของแต่ละชุมชน การปรับรูปแบบการบริหารจัดการให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และขอรับการสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ และการตรวจสอบคุณภาพน้ำจากหน่วยงานท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
เกศสุดา โภคานิตย์ และ กีฬา หนูยศ. (2563). สภาพปัญหาการบริหารจัดการน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคของชุมชนบ้านนาสีนวล ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 93-106.
จีรนันท์ ยายะวงษ์ และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). แนวทางการบริหารจัดการปัญหาภัยแล้งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแดง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 86–99.
ณัฐพล แสกระโทก. (2559). รูปแบบการจัดการน้ำประปาภูเขาที่เอื้อต่อการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำภูหลงโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนบ้านตาดรินทอง ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
ประสิทธิ์ ประคองศรี และ มานะ เก่งชูวงศ์. (2559).การถอดบทเรียนการจัดการประปาภูเขาเพื่อความพอเพียงต่อการอุปโภคและบริโภคในระดับชุมชน กรณีศึกษา: ระบบประปาภูเขาชุมชนห้วยน้ำใส บ้านจันทรเพ็ญ ตําบลจันทร์เพ็ญ อําเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร.https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2016082509544248.pdf
ปัณฑิตา ตันวัฒนะ, กนกพร คุ้มภัย, และพงศ์ไพบูลย์ ตุลารักษ์. (2564). ภัยแล้ง – ความเสี่ยงและความท้าทายการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ระเบียงอุตสาหกรรมตะวันออก. https://ej.eric.chula.ac.th/article/view/307
พระชุติกานต์ อภินนฺโท, เดชา กัปโก, และพระสุธีรัตนบัณฑิต. (2561). การจัดการปัญหาภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
เยาวเรช บัวเวช. (2554). การพัฒนาระบบบริหารจัดการประปาหมู่บ้านแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. http://dept.npru.ac.th/msc/data/files/research5533.pdf
รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง, ศีลาวุธ ดำรงศิริ, และเพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์. (2564). วิกฤตการณ์น้ำแล้ง...วิกฤตชาติกับการบูรณาการการจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6138/312
สามารถ ใจเตี้ย, สิวลี รัตนปัญญา, จันจิราภรณ์ สท้านไตรภพ, นภารัตน์ จิวาลักษณ, ณัทธร สุขสีทอง, ศศิกัญญ์ นำบุญจิตต์, ฉัตรศิริ วิภาวิน, อัจฉรา คำฟั้น, สุทธิชัย ศิรินวล, และประเวท ยาแปง. (2565). คุณภาพน้ำ และข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้ง:กรณีศึกษา เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(3), 323 – 332.
สามารถ ใจเตี้ย และ สิวลี รัตนปัญญา. (2566). การจัดการระบบประปาหมู่บ้านในภาวะภัยแล้ง: สภาพปัญหา บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแนวทางการจัดการในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำลี้ตอนบน จังหวัดลำพูน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 10(1), 51 – 64.
สุโข เสมมหาศักดิ์, อัตถ์ อัจฉริยมนตรี, และชุติวลัญชน์ เสมมหาศักดิ์. (2559). การประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่และผลกระทบต่อระบบนิเวศเกษตรอันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17–29.
อับดุลรอฟิด หะยืดดอเละ. (2556). คุณภาพน้ำทางกายภาพของน้ำประปาภูเขาที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน ในตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3d ed.). John Wiley and Sons.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297–334. https://doi.org/10.1007/BF02310555
Khan, Z. H. (2015). Study on water supply system at Rangamati municipal area, Chittagong hill tracts. World Journal of Environmental Engineering, 3(1), 15-22. https://doi.org/10.12691/wjee-3-1-3
Maskey, G., Pandey, C. L., & Giri, M. (2023). Water scarcity and excess: Water insecurity in cities of Nepal. Water Supply, 23(4), 1544–1556. https://doi.org/10.2166/ws.2023.072
National Integrated Drought Information System. (2023). Water utilities. https://www.drought.gov/sectors/water-utilities
Saraswathy, R., & Vijayaram, C. (2016). Tribal communities managing the water supply – A success story from Meghalaya. https://www.ircwash.org/resources/community-water-plus-india-gravity-based-piped-water-supply-meghalaya
Savelli, E., Mazzoleni, M., Di Baldassarre, G., Cloke, H., & Rusca, M. (2023). Urban water crises driven by elites’ unsustainable consumption. Nature Sustainability. https://doi.org/10.1038/s41893-023-01100-0
Seo, J., & Kim, Y. (2023). Assessing the likelihood of drought impact occurrence with extreme gradient boosting: A case study on the public water supply in South Korea. Journal of Hydroinformatics, 25(2), 191–207. https://doi.org/10.2166/hydro.2023.064
Sudsandee, S., Fakkaew, K., Siriratruengsuk, W., Worakhunpiset, S., & Apidechkul, T. (2022). Quality of sources of drinking water and health among the hill tribe people of northern Thailand. Environmental Geochemistry and Health, 44, 873–892. https://doi.org/10.1007/s10653-021-00963-6
The United Nations University. (2023). Global water security 2023 assessment. https://reliefweb.int/report/world/global-water-security-2023-assessment
United Nation. (2021). Water scarcity. https://www. https://www.unwater.org/water-facts/water-scarcity