การวิเคราะห์ปัญหาความยากจนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ตุลา คม​กฤต​ มโนรัตน์
กนกพร ฉิมพลี
นุชจรี ภักดีจอหอ
จารุกิตติ์ ไชยรด
ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาความยากจนในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ฐานข้อมูลประชากรจาก TPMAP ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า มีครัวเรือนยากจน 749 ครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,392 บาท ระดับทุนมนุษย์ 2.01 ระดับทุนกายภาพ 2.87 ระดับทุนเศรษฐกิจ 2.03 ระดับทุนธรรมชาติ 2.54 ระดับทุนสังคม 2.23 และ สาเหตุความยากจน พบว่า มิติทุนมนุษย์ ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 6 มิติทุนกายภาพ สภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัยทรุดโทรม และขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการ มิติทุนการเงิน ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหนี้สิน มิติทุนธรรมชาติ หลายครัวเรือนอยู่ในพื้นที่ประสบภัย และ มิติทุนทางสังคม พบว่า ส่วนใหญ่ยังขาดกติกาในการอยู่ร่วมกันของชุมชน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างระดับความยากจนหรือทุนเศรษฐกิจกับทุนในมิติต่าง ๆ พบว่า ทุนเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนทางธรรมชาติ และทุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชิต ชายทวีป. (2559). ปัจจัยสำเร็จของการลดปัญหาความยากจน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 3(2), 188- 214.

ธนพล สราญจิตร์. (2558). ปัญหาความยากจนในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 12-21.

ระพี ผลพาณิชย์ และ สมพจน์ กรรณนุช (2561) ทุนกายภาพ ทุนมนุษย์ ทุนธรรมชาติ และทุนสังคม และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 58(3), 154-168.

รัตยา ต่างประโคน, จรัส สว่างทัพ, อนันต์ ลิขิตประเสริฐ และ สุริยา รักการศิลป์. (2562). แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน: กรณีศึกษากลุ่มคนจนที่ประกอบ อาชีพรับจ้างในโรงสี ในตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 3 (462-476). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ลาภบุญ รัตนโชติพานิช และ สถาพร ถาวรอธิวาสน. (2554). การตอสูดิ้นรนเพื่อดํารงอยูของคนจนไรที่อยูอาศัยในเขตเทศบาลเมืองชัยนาทจังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร, 17(32), 68-74.

วิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์, วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, จำเนียร ราชแพทยาคม และ สุภมาส อังศุโชติ. (2563). การพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 261-280.

สมชัย ศรีนอก. (2561). คนจน 4.0: นวัตกรรมสร้างความจนและแก้ปัญหาความจน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 5 (พิเศษ) เนื่องในงานพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2561, 83-94.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563) ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า: TPMAP. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Chambers, R., & Conway, C. (1992). Sustainable rural livelihoods: Practical concepts for the 21st century, IDS Discussion Paper 296.

Ellis, F. (2000). Rural livelihood diversity in developing countries: Analysis, method. policy. Oxford University Press.

Haughton, J., & Khandker, S. R. (2009). Handbook on poverty and inequality. World Bank.

World Bank. (2001). Poverty measurement. https://www.worldbank.org/en/home.