ปัจจัยทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาวะของกลุ่มผู้สูงอายุพิการในชุมชน: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

Main Article Content

กาญจนา จำนงค์บุญ
จิรพรรณ นฤภัทร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทุนทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุพิการในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ และเพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนต่าง ๆ และความเชื่อมโยงการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุพิการ โดยใช้แนวคิดทุนทางสังคม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 30 คน ผลการศึกษาว่า ปัจจัยทุนทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุพิการในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน 2) ปัจจัยการพึ่งพาประยุกต์ใช้ความรู้ 3) ปัจจัยการต่างตอบแทนผลประโยชน์ร่วมกัน และ 4) ปัจจัยด้านสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การวิจัยนี้ยังพบว่า การทำงานในลักษณะเครือข่ายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการของภาคส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุพิการเปราะบางในพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มีความโดดเด่น ส่งผลให้ผู้สูงอายุพิการในพื้นที่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี และเข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (ม.ป.ป.). คู่มือระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่. https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1561080125-196_0.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/5/1993

จรินทร์ สารทอง. (2564). การจัดการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในเขตเมืองเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(3), s516-s523.

จิรพรรณ นฤภัทร. (2556). ทุนทางสังคมของกลุ่มชาวนา: กรณีศึกษาเครือข่ายโรงเรียนชาวนา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. (2555). วิสัยทัศน์และนโยบาย. https://www.nakornban.net/home/news_page.php?id=32&news_cat_id=14

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. https://www.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Information_Center/Attach/25621124013609AM_17.pdf

สมชาย วิริภิรมย์กูล และคณะ. (2555). รูปแบบการจัดการดูแลระยะยาวกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงโดยชุมชน. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 8(11), 112-126.

Anttiroiko, A.-V., & Valkama, P. (2016). Post-NPM-style service integration: Partnership-based brokerage in elderly care. International Journal of Public Sector Management, 29(7), 675–689. https://doi.org/10.1108/IJPSM-12-2015-0220

Callahan, K. (2007). Citizen participation: Models and methods. International Journal of Public Administration, 30(11), 1179–1196. https://doi.org/10.1080/01900690701225366

Fulkerson, G. M., & Thompson, G. H. (2008). The evolution of a contested concept: A meta-analysis of social capital definitions and trends (1988–2006). Sociological Inquiry, 78(4), 536–557. https://doi.org/10.1111/j.1475-682X.2008.00260.x

Howard, J., & Wheeler, J. (2015). What community development and citizen participation should contribute to the new global framework for sustainable development. Community Development Journal, 50(4), 552–570. https://doi.org/10.1093/cdj/bsv033

Irvin, R. A., & Stansbury, J. (2004). Citizen participation in decision making: Is it worth the effort? Public Administration Review, 64(1), 55–65. https://doi.org/10.1111/j.1540-6210.2004.00346.x

Newton, K. (2001). Trust, social capital, civil society, and democracy. International Political Science Review, 22(2), 201–214. https://doi.org/10.1177/0192512101222004

Portes, A. (1998). Social capital: Its origins and applications in modern sociology. Annual Review of Sociology, 24(1), 1–24. https://doi.org/10.1146/annurev.soc.24.1.1

World Health Organization (WHO). (n.d.). Health and well-being. https://www.who.int/data/gho/data/major-themes/health-and-well-being

Xu, Q., & Chow, J. C. (2011). Exploring the community-based service delivery model: Elderly care in China. International Social Work, 54(3), 374–387. https://doi.org/10.1177/0020872810396260