การศึกษาผลกระทบและแนวทางการรับมือต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

พิมพ์รวินท์ แก้วเมืองทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ใช้การศึกษาแบบผสมวิธีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสำรวจผ่านแบบสอบถาม ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ด้านสุขภาพมากที่สุด ผลการวิเคราะห์สถิติ t พบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงได้รับผลกระทบด้านสุขภาพมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -.83, p < .001) ด้านระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเผยแพร่ข่าวสารจากทางเทศบาลฯ มากที่สุด และจะให้ความร่วมมือกับเทศบาลฯ หากรู้สึกว่า ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson พบว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของตน (r = .324, p < .01) ในตอนท้าย ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อเทศบาลตำบลดำเนินสะดวก ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาทิ (1) ประชาสัมพันธ์สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และแจกจ่ายสิ่งของจำเป็นให้กับประชาชนในเขตเทศบาล (2) การจัดตั้งโรงครัวสนามโดยผู้นำชุมชน และ (3) เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564ก). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ภายในประเทศ. https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564ข). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. กระทรวงสาธารณสุข

จักรกฤษ เสลา และคณะ. (2564). วิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID–19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 24(2), 8-73.

ฐิติอลีนา ใจเพียร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน: ภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.

เทศบาลตำบลดำเนินสะดวก. (2563ก). ข้อมูลสภาพทั่วไป. https://damnoensaduak.go.th/public/list/data/index/menu/1144

เทศบาลตำบลดำเนินสะดวก. (2563ข). แผนพัฒนาท้องถิ่น. https://damnoensaduak.go.th/public/list/data/datacategory/catid/2/menu/1196

ธัญญารัตน์ สระแก้ว และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการช่วยเหลือและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 (COVID-19): กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 347-362.

นิภา สุทธิพันธ์ และ ทิตยาวดี อินทรางกูร. (2565). ความวิตกกังวล ความเครียด และการป้องกันตนเองของประชาชนในหมู่บ้านที่ถูกสั่งปิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นบุรีรัมย์.

พงษ์มนัส ดีอด. (2563). ผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการประกอบอาชีพบริการจัดส่งอาหาร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 131-144.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และคณะ. (2564). ผลกระทบ COVID-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย. https://tdri.or.th/2021/04/covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

วนัฎภรณ์ ทองฤทธิ์. (2564). ผลกระทบของ Covid-19 ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและการท่องเที่ยวกรณีศึกษา: หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/

สยามรัฐออนไลน์. (2563). ตลาดน้ำดำเนินสะดวกฝ่าวิกฤตโควิด-19 เตรียมเปิดบริการ. https://siamrath.co.th/n/158167

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2560). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนำไปสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ,.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค. (2564). ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลก และในประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf

สิทธิพร เขาอุ่น และ สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา. (2565). การบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 105–120.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-29.

Bozkurt, A., Karakaya, K., Turk, M., Karakaya, Ö., & Castellanos-Reyes, D. (2022). The impact of COVID-19 on education: A meta-narrative review. TechTrends, 66(5), 883–896. https://doi.org/10.1007/s11528-022-00759-0

Cheng, Y. (Daniel), Yu, J., Shen, Y., & Huang, B. (2020). Coproducing responses to COVID-19 with community-based organizations: Lessons from Zhejiang province, China. Public Administration Review, 80(5), 866–873. https://doi.org/10.1111/puar.13244

Fung, A. (2015). Putting the public back into governance: The challenges of citizen participation and its future. Public Administration Review, 75(4), 513–522. https://doi.org/10.1111/puar.12361

Hantoko, D., Li, X., Pariatamby, A., Yoshikawa, K., Horttanainen, M., & Yan, M. (2021). Challenges and practices on waste management and disposal during COVID-19 pandemic. Journal of Environmental Management, 286, 112140. https://doi.org/10.1016/j.jenvman.2021.112140

Moon, M. J. (2020). Fighting COVID-19 with agility, transparency, and participation: Wicked policy problems and new governance challenges. Public Administration Review, 80(4), 651–656. https://doi.org/10.1111/puar.13214

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw-Hill.

Prati, G., & Mancini, A. D. (2021). The psychological impact of COVID-19 pandemic lockdowns: A review and meta-analysis of longitudinal studies and natural experiments. Psychological Medicine, 51(2), 201–211. https://doi.org/10.1017/S0033291721000015

Sanchez-Ramirez, D. C., Normand, K., Zhaoyun, Y., & Torres-Castro, R. (2021). Long-term impact of COVID-19: A systematic review of the literature and meta-analysis. Biomedicines, 9(8), Article 8. https://doi.org/10.3390/biomedicines9080900

Steen, T., & Brandsen, T. (2020). Coproduction during and after the COVID-19 Pandemic: Will It Last? Public Administration Review, 80(5), 851–855. https://doi.org/10.1111/puar.13258

Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International Journal of Testing, 3(2), 163–171. https://doi.org/10.1207/S15327574IJT0302_5

Voorberg, W. H., Bekkers, V. J. J. M., & Tummers, L. G. (2015). A systematic review of co-creation and co-production: Embarking on the social innovation journey. Public Management Review, 17(9), 1333–1357. https://doi.org/10.1080/14719037.2014.930505

World Health Organization (WHO). (2020). Coronavirus in Thailand. https://www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus

Wu, Y., Xiao, H., & Yang, F. (2022). Government information disclosure and citizen coproduction during COVID-19 in China. Governance, 35(4), 1005–1027. https://doi.org/10.1111/gove.12645

Xiong, Y., Guo, H., Nor, D. D. M. M., Song, A., & Dai, L. (2023). Mineral resources depletion, environmental degradation, and exploitation of natural resources: COVID-19 aftereffects. Resources Policy, 85, 103907. https://doi.org/10.1016/j.resourpol.2023.103907

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. Harper & Row.