มาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มของประเทศไทย: บทสำรวจวรรณกรรมที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2562 - 2565

Main Article Content

นิภาพรรณ เจนสันติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์บทความวิชาการและบทความวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มที่เผยแพร่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ในช่วง พ.ศ. 2562 - 2565 โดยคำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้น ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม การคุ้มครองแรงงาน แรงงานแพลตฟอร์ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจัดกลุ่มของข้อมูลพิจารณาถึงความสอดคล้องของข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า 1) มีบทความวิชาการและบทความวิจัย จำนวน 45 เรื่อง มีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มจำนวน 8 เรื่อง และมีบทความวิชาการและบทความวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงานในระบบเศรษฐกิจแพลตฟอร์มโดยตรง จำนวน 37 เรื่อง 2) ในส่วนของมาตรฐานแรงงานและการคุ้มครองแรงงาน พบว่า แรงงานที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มมิได้มีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือหุ้นส่วนอย่างไม่เป็นทางการของแพลตฟอร์มหรือทางกฎหมาย จึงไม่ได้มีมาตรฐานแรงงานเนื่องจากไม่ได้มีกฎหมายรองรับ มาตรฐานแรงงานจึงเป็นไปตามบริษัทแพลตฟอร์มที่กำหนดขึ้น ทำให้มีปัญหาในเรื่องของข้อกำหนด ข้อปฏิบัติ การใช้แรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยสภาพดังกล่าวแรงงานแพลตฟอร์มจึงไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). ครม.รับทราบหลักการกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลให้ทันสมัยยิ่งขึ้น. https://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/96802

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบเพื่อการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). เปิดสถิติ “แรงงานไทย” พบ 5.3 แสนคน ทำงานน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์. https://www.bangkokbiznews.com/business/987011

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์. (2562). รูปแบบของงานที่ไม่มีมาตรฐานและแรงงานที่มีความเสี่ยงในเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 59-108.

กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์. (2564). จุดเริ่มต้นของความไม่เป็นทางการและการถกเถียงเกี่ยวกับการทำให้ไม่เป็นทางการ. Journal of HR intelligence: HRi, 16(2), 82-106.

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, ปัทชา ศึกษากิจ และ เขมชาติ ตนบุญ. (2562). การพัฒนาระบอบกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำกับกลุ่มแรงงานรับจ้างอิสระที่ได้รับผลกระทบจากความท้าทายในศตวรรษที่ 21. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธร ปิติดล. (2565ก). สู่โลกของเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม. https://www.the101.world/platform-econ-challenge-thai/

ธร ปิติดล (2565ข). เศรษฐกิจแพลตฟอร์มกับความท้าทายของเศรษฐกิจไทย (3): คุณภาพชีวิตแรงงานในเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม. https://www.the101.world/platform-econ-challenge-thai-3/

ธานี ชัยวัฒน์, กุลลินี มุทธากลิน และ กิริยา กุลกลการ. (2565). โครงการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายต่อคุณภาพชีวิตของคนทำงานแพลตฟอร์ม (Platform Worker). คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทพล พุทธพงษ์. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานแพลตฟอร์มดิจิทัล: ศึกษากรณีธุรกิจรับส่งอาหารในประเทศไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 11(1), 265-309.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2564). แรงงานแพลตฟอร์มในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 18 (1), 1-10.

นุชประภา โมกข์ศาสตร์ และ เดชรัต สุขกำเนิด. (2565). การทำงานบนแพลตฟอร์มที่เป็นธรรม นโยบายการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ และสวัสดิการของแรงงานแพลตฟอร์ม. https://think.moveforwardparty.org/article/welfare/3631/

ปริศนา มั่นเภา และ ฐิติยา เนตรวงษ์. (2564). ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อยกระดับธุรกิจบริการในยุคโควิด-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 57-65.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). อุดช่องโหว่ “แรงงานแพลตฟอร์ม” หนุนสวัสดิการ ดันคุณภาพชีวิต. https://mgronline.com/daily/detail/9630000133991

ภาสกร ญี่นาง. (2564). วิกฤตสิทธิแรงงานในเศรษฐกิจยุคดิจิทัล: ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง “ไรเดอร์” กับแพลตฟอร์มที่รัฐเพิกเฉย. CMU Journal of Law and Social Sciences, 14(1), 84-113.

วรรณิภา สูงสุมาลย์ และ พิมพ์ชนก ไพรีพินาศ. (2564). การปรับตัวของแรงงานนอกระบบภายใต้วิกฤตทางสังคมจากการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด 19 กรณีศึกษา กลุ่มคนขับรถรับจ้าง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 155-169.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 2(1), 125-149.

ศุภศิษฎ์ ทวีแจ่มทรัพย์. (2566). การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่. สถาบันพระปกเกล้า.

ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2562). ความพึงพอใจในการทำงานของแรงงานนอกระบบบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม: กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในจังหวัดขอนแก่น. กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). โครงการการออกแบบระบบการประกันสังคมที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในอนาคต. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562). การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม: นัยของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับความเหลื่อมล้ำ-บทเรียนจากเศรษฐกิจแพลตฟอร์ม. วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2564). โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมไทย: ความเปราะบางท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง การแก้ไขความเปราะบางทางเศรษฐกิจจะไม่ยั่งยืน หากขาดกุญแจสำคัญคือความสมานฉันท์ในสังคมไทย. https://www.pier.or.th/abridged/2021/16/

อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร. (2561). แพลตฟอร์มอีโคโนมีและผลกระทบต่อแรงงานในภาคบริการ: กรณีศึกษาในประเทศไทย. มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (Friedrich-Ebert-Stiftung) สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม.

Acs, Z. J., Song, A. K., Szerb, L., Audretsch, D. B., & Komlósi, É. (2021). The evolution of the global digital platform economy: 1971–2021. Small Business Economics, 57(4), 1629–1659. https://doi.org/10.1007/s11187-021-00561-x

Cutolo, D., & Kenney, M. (2021). Platform-dependent entrepreneurs: Power asymmetries, risks, and strategies in the platform economy. Academy of Management Perspectives, 35(4), 584–605. https://doi.org/10.5465/amp.2019.0103

Graham, M., Hjorth, I., & Lehdonvirta, V. (2017). Digital labor and development: Impacts of global digital labor platforms and the gig economy on worker livelihoods. Transfer, 23(2), 135-162.

Hagiu, A., & Wright, J. (2019). The status of workers and platforms in the sharing economy. Journal of Economics & Management Strategy, 28(1), 97–108. https://doi.org/10.1111/jems.12299

Lehdonvirta, V., Kässi, O., Hjorth, I., Barnard, H., & Graham, M. (2019). The global platform economy: A new offshoring institution enabling emerging-economy microproviders. Journal of Management, 45(2), 567–599. https://doi.org/10.1177/0149206318786781

Malik, R., Visvizi, A., & Skrzek-Lubasinska, M. (2021). The gig economy: Current issues, the debate, and the new avenues of research. Sustainability,13(9), 5023. https://doi.org/10.3390/su13095023

Mieruch, Y., & McFarlane, D. (2023). Gig economy riders on social media in Thailand: Contested identities and emergent civil society organizations. VOLUNTAS: International Journal of Voluntary and Nonprofit Organizations, 34(6), 1232–1242. https://doi.org/10.1007/s11266-022-00547-7

Morell F. M., Espelt, R., & Cano, R. M. (2020). Sustainable platform economy: Connections with the sustainable development goals. Sustainability, 12(18), 7640. https://doi.org/10.3390/su12187640

Paliyeva, T., Chudinovskikh, M., Kuvaeva, Y., & Boronenkova, N. (2021). Digital labor platforms: financial and legal aspects of sustainable development. Advances in Economics, Business and Management Research, 195, 379-383.

Vallas, S., & Schor, J. B. (2020). What do platforms do? Understanding the gig economy. Annual Review of Sociology, 46(1), 273–294. https://doi.org/10.1146/annurev-soc-121919-054857