ผลกระทบและการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษานักศึกษาภูฏานของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของนักศึกษาภูฏานของคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นักศึกษาภูฏาน จำนวน 40 คน ของคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ผลการวิจัยพบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อนักศึกษาภูฏานทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอน ที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบออนไลน์ ทำให้นักศึกษาภูฏานทุกคนต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการจัดซื้ออินเทอร์เน็ตส่วนบุคคลเอาไว้ใช้ในการเรียน ด้านการเดินทาง โดยนักศึกษาภูฏานทุกคนต้องศึกษารายละเอียด ขั้นตอนการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ต้องเตรียมตัวในการจัดหาเอกสาร หลักฐาน และดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเป็นเวลานานกว่าปกติ และ ด้านกฎหมายและระเบียบพิธีการตรวจคนเข้าเมือง เช่น การเตรียมค่าใช้จ่ายในการกักตัวตามระยะเวลาที่ทางรัฐบาลไทยกำหนด คือ 14 วัน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ปกติอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การวิจัยนี้พบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ได้กระทบกับการใช้ชีวิตส่วนตัวของนักศึกษาเท่าใดนัก เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีระบบช่วยเหลือเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว ในส่วนของการปรับตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น พบว่า นักศึกษาภูฏาน ทุกคนมีการปรับตัวที่ดี เนื่องจากมีการประสานกันในระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง และพักอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีการส่งข้อมูล และปรึกษาหารือกันเป็นประจำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2566). ประวัติ โครงสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. https://www.rmutp.ac.th/ประวัติ-โครงสร้าง
เมตตา วิวัฒนานุกูล (กฤตวิทย์). (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Baloran, E. T. (2020). Knowledge, attitudes, anxiety, and coping strategies of students during COVID-19 pandemic. Journal of Loss and Trauma, 25(8), 635-642.
Bao, W. (2020). COVID-19 and online teaching in higher education: A case study of Peking University. Human Behavior and Emerging Technologies, 2(2), 113-115.
Carroll, N., & Conboy, K. (2020). Normalising the “new normal”: Changing tech-driven work practices under pandemic time pressure. International Journal of Information Management, 55, 102186. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2020.102186
Cheng, M. T., & Agyeiwaah, E. (2022). Exploring Chinese students’ issues and concerns of studying abroad amid COVID-19 pandemic: An actor-network perspective. Journal of Hospitality, Leisure, Sport & Tourism Education, 30, 100349. https://doi.org/10.1016/j.jhlste.2021.100349
Cushner, K., & Brislin, R. W. (1996). Intercultural Interactions: A Practical Guide. Sage Publications.
Jandt, F. E. (1998). Intercultural communication: An introduction (2nd ed.). Sage Publications.
Rajkumar, R. P. (2020). COVID-19 and mental health: A review of the existing literature. Asian Journal of Psychiatry, 52, 102066. https://doi.org/10.1016%2Fj.ajp.2020.102066
Reimer, B. (1995). Youth and modern lifestyles. In J. Fornas & G. Bolin (Eds.), Youth culture in late modernity (pp. 125-148). Sage Publications.