การพัฒนาเวชระเบียนผู้ป่วยนอกสำหรับผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลทหารผ่านศึก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางในการพัฒนาการให้บริการเวชระเบียนผู้ป่วยนอกสำหรับผู้สูงอายุของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างบุคลากรสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเวชระเบียนผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทหารผ่านศึก จำนวน 118 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและหัวหน้าแผนกจำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาการให้บริการผู้ป่วยนอกโดยเฉพาะผู้สูงอายุมาจากปัญหาด้านเวชระเบียนมากที่สุด รองลงมา คือ ปัญหาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนไข้ผู้สูงอายุ ปัญหาด้านการจัดระบบการให้บริการ และปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคลากรทางการแพทย์ ตามลำดับ เมื่อเจาะลึกถึงปัญหาการให้บริการเวชระเบียนจะพบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำประวัติผู้ป่วยใหม่มากที่สุด รองลงมาจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลผู้ป่วยนัด และปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดเก็บประวัติผู้ป่วย ตามลำดับ ในด้านความต้องการของผู้ป่วยสูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุต้องการให้โรงพยาบาลลดขั้นตอนการให้บริการมากที่สุด รองลงมา คือ ต้องการให้เพิ่มช่องพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ เพิ่มจำนวนบุคลากรที่ให้บริการ และการให้การอบรมด้านการบริการและดูแลผู้สูงอายุ ตามลำดับ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการให้บริการผู้ป่วยสูงอายุของโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ได้แก่ ควรปรับปรุงสถานที่ให้มีความปลอดภัยและมีพื้นที่สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุมากขึ้น มีเครื่องมือที่ช่วยสื่อสารกับผู้ป่วยที่มีความพิการทางการได้ยินหรือการสนทนาเพิ่มเติม การจัดช่องทางพิเศษของแผนกเวชระเบียนผู้ป่วยนอกหรือห้องตรวจเฉพาะผู้สูงอายุเพื่อลดปัญหาความล่าช้าในการให้บริการ ควรมีบุคลากรที่ช่วยดูแลและให้บริการผู้สูงอายุมากขึ้น และควรพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. http://www.dop.go.th/main/regulation_list.php?id=10
กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.). กระบวนการทางกฎหมายในการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เรื่องการประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น. http://eh.anamai.moph.go.th/
การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ พุทธศักราช 2554. (2554, 30 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 60 ง. หน้า 60.
กรมการปกครอง. (2559). ระบบสถิติทางการลงทะเบียน ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559. http://www.dop.go.th/th/know/1/51
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). การบริการผู้สูงอายุ. http://healthnet.md.chula.ac.th/text/forum1/psyc-old/index.htm.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). นิยามที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. Aging society in Thailand, 3(16), 2-3.
ฐิติพร ธรรมโหร. (2557). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มหาวิทยาลัยบูรพา. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54930271.pdf
ปราโมทย์ ปราสาทกุล. (2556). การสูงวัยของประเทศในอาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน พ.ศ. 2557. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องสถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้ม และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร.
ปราโมทย์ ปราสาทกุล. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ มุมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ. โรงพิมพ์เดือนตุลา.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (2556). นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทร์วาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และเรวดี สุวรรณนพเก้า. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ. โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ระเบียบกรมกิจการผู้สูงอายุว่าด้ายการให้บริการผู้สูงอายุ พุทธศักราช 2558. (2558, 18 สิงหาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 189 ง. หน้า 1-5.
โรงพยาบาลทหารผ่านศึก. (ม.ป.ป.). ทีมแพทย์และเภสัชกร. https://www.vgh.go.th/medical-team-pharmacist
ศิริพันธุ์ สาสัตย์, วาสินี วิเศษฤทธิ์, ถาวร สกุลพาณิชย์ และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2558). การพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในสถานดูแลระยะยาว. มาตาการพิมพ์.
สมชาย วิริภิรมย์กูล, ดลพัฒน์ ยศกร, เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, สุพัตรา ศรีวณิชชากร และกวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์. (2558). สถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สภาการพยาบาล และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2557). คู่มือแนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศรีเมืองการพิมพ์.
แสงระวี เทพรอด และคณะ. (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. http://www.sh.mahidol.ac.th/pictures/download/sh_20130606104049.pdf
แสงเทียน อยู่เถา. (2560). การบริหารงานเวชระเบียน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. (ม.ป.ป.). ประวัติและความเป็นมาขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. http://www.thaiveterans.mod.go.th/new_v2/wvo_v2/history.html