การศึกษาช่องทางการให้บริการผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการให้บริการผู้ประกันตนผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการให้บริการแก่ประชาชน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และวิจัยสนาม (Field Study) รวมถึงการจัดทำประชุมกลุ่ม (Focus Group) กลุ่มที่ศึกษาคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 อาสาสมัครแรงงาน แกนนำเครือข่ายประกันสังคม และผู้นำชุมชน จำนวน 180 คน รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับช่องทางการให้บริการผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมเกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของสำนักงานประกันสังคมผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 40 รวมจำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสำรวจความคิดเห็นแนวทางการให้บริการผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ผ่านช่องทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าช่องทางการให้บริการผู้ประกันตนผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานประกันสังคมต้องพิจารณาในองค์ประกอบ 3 ประการคือประการที่ 1 ด้านกฎหมายในการออกประกาศตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม และประการที่ 2 ด้านระบบสารสนเทศในการบูรณการร่วมให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ ที่สำนักงานประกันสังคมต้องออกแบบระบบสารสนเทศให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในการให้บริการผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่ 3 ด้านการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงบริการ สำนักงานประกันสังคมต้องจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และอบรมให้แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้การให้บริการผู้ประกันตนมาตรา 40 ควรครอบคลุมใน 4 ด้าน คือ (1) ด้านการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (2) ด้านการให้บริการรับชำระเงินสมทบ (3) ด้านการรับฝากเอกสารในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนประกันสังคมมาตรา 40 (4) ด้านการรณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ความรู้เกี่ยวกับความคุ้มครองประกันสังคมมาตรา 40 ในระดับพื้นที่
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
Community Health Behavioral Changes, Volume 3. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)
กองสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การสร้างเครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพของชุมชน, เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
Julathab, Siriwan. (2015). Proactive public relations strategies of higher education institutions Southern
geographic area. Rajabhat University Surat Thani Journal, 2 (2), 157-174. (in Thai)
ศิริวรรณ จุลทับ. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษา เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. วารสารราชภัฏ
สุราษฎร์ธานี, 2(2), 157-174.
National Statistical Office. (2018). Informal Labor Survey in 2018. Bangkok: Social Statistics Division.
(in Thai)
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติสังคม.
Royal Thai Government Gazette. (1999). Act on Decentralization Plan and Procedures for the LAOs
B.E. 2542, volume 116, part 114a, dated 14th November 1999. (in Thai)
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114ก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542. น. 53-55
Social Security Office. (2016). Number of Insured Persons under Article 40 Using the Payment Service
via Various Channels. Bangkok: Office of Security Strengthening for Informal Labor. (in Thai)
สำนักงานประกันสังคม. (2559). สถิติจำนวนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ใช้บริการชำระเงินสมทบผ่านช่องทางต่างๆ. กรุงเทพมหานคร: สำนักเสริมสร้างความมั่นคงแรงงานนอกระบบ.
Social Security Office. (2017 a). Number of Insured Persons under Article 40 according to their
Occupations. Bangkok: Research and Development Division. (in Thai)
สำนักงานประกันสังคม. (2560 ก). สถิติจำนวนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แยกตามกลุ่มอาชีพ. กรุงเทพมหานคร:
กองวิจัยและพัฒนา.
Social Security Office. (2017 b). Service Providers Having Service Agreements with the Social Security
Office. Bangkok: Office of Security Strengthening for Informal Labor. (in Thai)
สำนักงานประกันสังคม. (2560 ข). หน่วยบริการที่ทำความตกลงให้บริการกับสำนักงานประกันสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักเสริมสร้างความมั่นคงแรงงานนอกระบบ.
Teacher Work Group, Education Bureau. (2019). Self-Learning Text: Community and Mass Relations Online. Retrieved October 23, 2019, from: http: //www.edupol.org/eduOrganize/eLearning. (in Thai)
กลุ่มงานอาจารย์ กองบัญชาการศึกษา. (2562). เอกสารประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง หมวดวิชางานชุมชนและงานมวลชนสัมพันธ์ ออนไลน์. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562, จาก : http://www.edupol.org/eduOrganize/eLearning/general Staff/doc/ group10/06/01.pdf.
The Cabinet Resolution. (2016). Guidelines to Support the Implementation of the National e- Payment
Master Plan dated 28th June 2016 Online. Retrieved June 30, 2016. from: http: //www.ryt9.com
/s/prg/2453877, (in Thai)
มติคณะรัฐมนตรี. (2559). แนวทางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ออนไลน์. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2559, จาก : http: //www.ryt9.com/s/prg/2453877.
The Public Sector Development Commission, Office of. (2013). Strategic Plan for the Development of the
Thai Bureaucratic System (2013-2018). Bangkok: Vision Print and Media Co. Ltd. (in Thai)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
The Secretariat of the House of Representatives. (2015). Public Management: Electronic Government
(e- Government). Bangkok: Academic Office, the Secretariat of the House of Representatives.
(in Thai)
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). การบริหารจัดการภาครัฐ : รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Theerasorn, Sitti. (2009). Marketing communication. Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University.
(in Thai)
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
The Royal Thai Government Gazette. (2012). Regulations of the Social Security Committee on funds receiving, payment and funds storage in 2012. Volume 129, Special Section 334 Ngor, dated 13 February 2012. Page 10 - 22. (in Thai)
ราชกิจจานุเบกษา. (2555). ระเบียบคณะกรรมการประกันสังคมว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ. 2555. เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 334 ง ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555. หน้า 10 – 22.