ทัศนคติของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ต่อระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรต่อระบบสารสนเทศในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและแนวทางในการดำเนินการการจัดกิจกรรมฝึกอบรมสำหรับผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร โดยรูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ที่สมัครใจในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามทัศนคติของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ต่อระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนคำถามปลายดเปิดใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัยพบว่า ทัศนคติของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรต่อระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อระบบในภาพรวม ( = 3.11, S.D. = 0.76) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ประเด็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานระบบ มคอ. ออนไลน์ มีจุดเด่น คือ ระบบสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ตลอดเวลาและช่วยในการเก็บข้อมูล เพื่อการบริหารหลักสูตร ส่วนจุดที่ควรพัฒนา คือ ควรมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลในทุกฐานเข้าด้วยกัน และควรให้สิทธิ์ผู้ประเมินเข้าถึงข้อมูลในแต่ละระบบที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน รวมถึงระบบควรมีความเสถียร 2) ประเด็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานระบบฐานข้อมูล QAIS มีจุดเด่น คือ ทำให้ได้ข้อมูลสำหรับประเมินจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ส่วนจุดที่ควรพัฒนา คือ ฐานข้อมูลไม่สัมพันธ์กับระบบ มคอ. ออนไลน์ ข้อมูลบางอย่างยังไม่เป็นปัจจุบัน และการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลทุกฐานเข้าด้วยกัน และ 3) ประเด็นข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานระบบ CHE QA Online มีจุดเด่น คือ สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลผลการดำเนินงานของหลักสูตร และช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารหลักสูตร ส่วนจุดควรพัฒนา คือ ควรแก้ไขให้ระบบมีความเสถียร และควรมีความเชื่อมโยงของข้อมูล ลดการซ้ำซ้อนของการป้อนข้อมูลและลดความผิดพลาดของข้อมูล
ข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยควรพัฒนาฐานข้อมูลให้มีความเชื่อมโยงของระบบสารสนเทศทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบมคอ. ออนไลน์ ระบบฐานข้อมูล QAIS และระบบ CHE QA Onlineให้ครอบคลุมทั้งข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และการแสดงผล ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการใช้งานของผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร รวมถึงการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ให้รู้ เข้าใจ และการมีทักษะที่สามารถใช้ประโยชน์ของระบบสารสนเทศต่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ในรูปแบบการจัดกิจกรรมฝึกอบรม
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
สุพัตตรา อุปฐาก. (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพ: กรณีศึกษาภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.
Education, Ministry of. (2010). National Education Act 1999 with amendments (version 3) 2010. Bangkok: Priwaan Graphic. (in Thai)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
Higher Education Commission, Office of. (2014). A guide to quality assurance in higher education, 2014. Bangkok: Paab Pim Printing. (in Thai)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557.
กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
Kittikanjanasopon, Tharinee; Wongsawan, Veera and Heeminkul, Petcharat. (2017). The development of an effective educational quality assurance system in private education institutions. Walai Alongkorn Journal, 7 (1), 55-65. (in Thai)
ธารินี กิตติกาญจนโสภณ วีระ วงศ์สรรค์ และเพ็ชรรัตน์ ฮีมินกูล. (2560). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิผลในสถาบันศึกษาเอกชน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 7(1), 55-65.
Kowneuangsri, Adisorn. (2015). Information system for internal quality assurance administration of the Faculty of Science, Chandrakasem University. Doctor of Philosophy Thesis in Education Administration. Burapha University. (in Thai)
อดิศร โค้วเนื่องศรี. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยจันทรเกษม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Prachai, Saenagprt and et al. (2014). The Development of Information System for Curriculum Quality Assurance under the Qualifications Framework of Higher Education. SWU Sci. J., 30(1), 75-90. (in Thai)
แสงเพ็ชร พระฉาย และคณะ. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว., 30(1), 75-90.
Quality Assurance, Office of; Kasetsart University. (2018). Summary report of internal education quality assessment at the course level academic year 2017. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2561). รายงานสรุปข้อมูลป้อนกลับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2560. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Rungratree, Suwanit. (2018). The Development of Educational Quality Assurance Information System (Curriculum Level) According to Criteria of the Quality Assurance for Education 2014 of the Office of Higher Education. ARU Research Journal, 5(2), 61-68. (in Thai)
สุวนิตย์ รุ่งราตรี. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (ระดับหลักสูตร) ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปี พ.ศ. 2557 ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏ กรุงเก่า, 5(2), 61-68.
Sukwiboon, Termsak. (2009). Considerations for creating a rating scale tool for research Online. Retrieved December 2, 2019, from: http://ms.src.ku.ac.th/ schedule/Files/2553/ Oct/1217086.doc. (in Thai)
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย ออนไลน์.
ค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562, จาก : http://ms.src.ku.ac.th/ schedule/Files/2553/ Oct/1217086.doc.