การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

ภัคธนิกา เศวตเมธิกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีงบประมาณ 2557 ประกอบด้วย ต้นทุนทางตรงรวมกับต้นทุนทางอ้อม เท่ากับต้นทุนรวม หารด้วย FTES   ผลการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ต้นทุนรวม เท่ากับ 1,372.9  ประกอบด้วยต้นทุนทางตรง 797.5 ล้านบาท ต้นทุนทางอ้อม 575.4 และต้นทุนต่อหน่วยรายหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เท่ากับ 58,389.63 ต่อคนต่อปี  


จากการศึกษา พบว่า คณะใหญ่ประกอบด้วยบุคลากรและนักศึกษาจำนวนมาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และรับการปันส่วนค่าใช้จ่ายมากตามสัดส่วน จึงทำให้มีต้นทุนรวม ต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อม มากตามไปด้วย และ FTES มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับต้นทุนรวมที่เท่ากัน กล่าวคือหากค่า FTES น้อย จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น  ในทางตรงข้ามค่า FTES มาก  มีผลทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ พงษ์ภมร.(2552). โปรแกรมช่วยวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมในระบบงานคลังสินค้า.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).
กองระเบียบและกฎหมาย.(2553). หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ. สำนักงบประมาณ:
กระทรวงการคลัง.
ชนนิกานต์ แก้วเทพ และ ชนพัฒน์ มันทเล. (2556). การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ภาคปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ดลพร บุญพารอด.(2556). หน่วยที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนและการสะสมต้นทุน. ในเอกสารการสอนชุดการ
บัญชีเพื่อการจัดการและการวางแผนภาษีอากร.(น.7-8). นนทบุรี : สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดวงมณี โกมารทัต.(2554). การบริหารต้นทุน พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ.(2555). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พัชนิจ เนาวพันธ์.(2555). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มุทิตา ซิงห์.(2556). ต้นทุนต่อหัวนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
มนวิกา ผดุงสิทธิ์.(2557). การบัญชีต้นทุน พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิจิตรา พูลเพิ่มทรัพย์.(2540). การบัญชีต้นทุน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2557). การบัญชีต้นทุน พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล.
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ.(2553). หลักเกณฑ์วิธีการคำนวณต้นทุนผลผลิต. กรมบัญชีกลาง : กระทรวงการคลัง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. สำนักมาตรฐานและ คุณภาพอุดมศึกษา : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.(2546).ราชกิจจานุเบกษา.