การดำเนินการด้านการริบทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องในคดียาเสพติด ตามพระราชบัญญัติมาตรการ ในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 และผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ของพนักงานเจ้าหน้าที่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการด้านการริบทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้อง
ในคดียาเสพติด ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการดำเนินการด้านการริบทรัพย์สินกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ และ ศึกษาความสามารถของปัจจัยการดำเนินการด้านการริบทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องในคดียาเสพติดในการทำนายผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สิน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จำนวน 69 คน
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการด้านการริบทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องในคดียาเสพติดเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (=3.56) ผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ
ตามมาตรการริบทรัพย์สินอยู่ในระดับสูงเช่นกัน (=3.46) ส่วนปัจจัยการดำเนินการด้านการริบทรัพย์สิน
มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05
โดยปัจจัยด้านการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นปัจจัยเดียวที่สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ร้อยละ 21.2 สำนักงาน ป.ป.ส. จึงควรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการตรวจสอบทรัพย์สินให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่มากยิ่งขึ้น
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ณัฐพงษ์ ปุระตา. (2546). การคุ้มครองสิทธิกับมาตรการการยึด อายัด และริบทรัพย์สินคดียาเสพติด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพย์ประภา ศรีสุวรรณ์. (2549). การนำมาตรการริบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาใช้ในการปราบปรามยาเสพติด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นราวรรณ พรมจรรย์. (2554). การริบทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอาญา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญทัน ดอกไธสง. (2523). ทฤษฎี : การบริหารองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:
โอเดียนสโตร์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.
ประโลม ทองเป้า. (2549). ปัญหาการดำเนินการริบทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์. (2556). Excel Statistic Analysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:
ไอดีซี พรีเมียร์.
ไพรวัน ทัพวงศ์. (2547). มาตรการริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีทรัพย์สินที่เช่าซื้อ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:
บพิธการพิมพ์.
วัฒนา ชั้นบุญ. (2540). การดำเนินคดีริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:
พริกหวานกราฟฟิค.
วุฒิพงษ์ เกษภาษา. (2548). การริบทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนีการจับกุมในคดี
ยาเสพติด. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ และสมศักดิ์ วานิชยาภรณ์ (2545). ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ไดมอนด์อิน บิซิเนส เวิร์ล.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558 - 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์.
สำนักตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด. (2556). “ข้อมูลคดีตรวจสอบทรัพย์สิน”. กรุงเทพมหานคร: สำนักตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2553). สัมมนาทฤษฎีองค์การและการจัดการ [เอกสารคำสอน]. นครปฐม:
คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรสิทธิ์ วชิรขจร. (2549). นโยบายสาธารณะเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ธเนศวร (1999) พริ้นติ้ง.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2556). ค่านิยมของการบริหารงาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
McKinsey & Company. (2008). Enduring Ideas: The 7-S Framework. (Online). Retrieved
March 25, 2016, Web site : http://www.mckinsey.com/business-functions/strategy-and-corporate-finance/our-insights/enduring-ideas-the-7-s-framework