การสื่อสารที่ส่งผลต่อการรับรู้การรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

Main Article Content

จิรนันท์ สุวรรณวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การสื่อสารที่ส่งผลต่อการรับรู้การรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษา               ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการสื่อสารภายในองค์กรของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ 3) เพื่อศึกษาปัจจัย                      ด้านการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มาตรฐานโรงพยาบาลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จำนวน 262 ราย เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-Test สถิติ F-test และวิธีการวิเคราะห์                  การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการสื่อสารภายในองค์กรของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก                        โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการรับรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง                             3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการสื่อสารได้แก่ องค์ประกอบการสื่อสาร และบรรยากาศในการสื่อสาร โดยตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยทางสถิติที่ .01 และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา ประเภทบุคลากร และหน่วยงานที่สังกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มยุเรศ เกษตรสินสมบัติ. (2553). การรับรู้ต่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวัชรีย์ เดชาธรอมร.(2544). ความรู้และทัศนคติของบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2555). รายงานการเยี่ยมสำรวจเพื่อรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. วันที่ 9 มีนาคม 2555.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2556). รายงานการเยี่ยมสำรวจเพื่อเฝ้าระวัง ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2551). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2542). คู่มือการประเมินและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.
เสาวนีย์ โรจนบุรานนท์. (2555). การบริหารงานตามเกณฑ์การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Berlo, D. K. (1960). An introduction to theory and practice. Process of Communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Claude E. Shannon and Warren Weaver. (1994). The Mathematical Theory of Communication. Urbana and Chicago: University of Illinois Press.
Chester I. Barnard. (2003). Organization and management. Cambridge, Mass: Harvard University.
Gerald M. Goldhaber. (1990). Organizational communication. Buffalo: State University of New
Stephen P. Robbins. (2001). Organization behavior. Upper Saddle River, N.J: Prentice Hall.