การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการอนุรักษ์พลังงานโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของบุคคลากรในการ อนุรักษ์พลังงานโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยกระตุ้น และ 3)เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของบุคคลากรในการอนุรักษ์พลังงานโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคคลากรในโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 400 คน จำแนกเป็น แพทย์ 50 คน พยาบาล 180 คน และเจ้าหน้าที่อื่นๆ 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มย่อยโดยใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ด้วยวิธีการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’
ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการอนุรักษ์พลังงาน โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการอนุรักษ์พลังงาน โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยกระตุ้น ที่ต่างกัน การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการอนุรักษ์พลังงาน โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหา อุปสรรค ของบุคคลากรในการอนุรักษ์พลังงานโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง อยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะของบุคคลากรในการอนุรักษ์พลังงานโรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทองด้านผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานให้มากกว่านี้ ด้านผล ความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน บุคคลากรในแต่ละแผนกมีความหลากหลายด้านพื้นฐานทางสถานะ ด้านผลความคิดเห็น โรงพยาบาลอ่างทองควรเปิดรับกล่องรับความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและกิจกรรมในการอนุรักษ์พลังงาน
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). สถานการณ์พลังงานประเทศไทย. ค้นเมื่อ
วันที่ 1 มิถุนายน 2556 จาก http://www.dede.go.th.
ธรรมชาติ สืบสินธุ์สกุลไชย. (2547). ความรู้และเจตคติต่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของพนักงานการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาการจัดการอุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พรรณศิริ ยุติศรี. (2545). พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภาวนา วัชรเสถียร. (2545). การประหยัดพลังงานของพนักงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โรงพยาบาลอ่างทอง. (2557). แผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2557. ทบทวนเมื่อเดือนตุลาคม 2556.
สมพร พิมลรัตน์. (2545). แรงจูงใจในการประเมินพลังงานไฟฟ้าของครัวเรือนในจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
สำนักงานส่งเสริมกรมอนุรักษ์พลังงาน. (2554). การประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน. ค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557. จาก http://www.environnet.in.th.
สุคนธ์ มาศนุ้ย. (2551). พฤติกรรมการประหยดพลังงานเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนของบคลากรสถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Cohen, John M. and and Uphoff, Norman T. (1980). Participation’s Place in Rurl Development : Seeking Clarity Through Specificity. New York : World Development.
Yamane,T. (1978). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs : Prentice - Hall.