การนำแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครในปี 2558 ไปสู่การปฏิบัติ

Main Article Content

ชุติมา ปิงเมือง

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการตามแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครในปี 2558 โดยระบุข้อดี ปัญหา และข้อจำกัดในทางปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการดำเนินการตามแผนต่อไปและเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในยุคประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


วิธีการศึกษา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (Document Study) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) โดยมีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนา และเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานด้านแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครปี 2558 ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) บูรณาการเข้ากับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม และการวิจัยเอกสาร แล้วทำการสังเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาเกี่ยวกับข้อสรุปที่ว่าด้วยกระบวนการดำเนินการตามแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครในปี 2558 ที่เกิดขึ้นจริงในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ ในการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานครในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ในส่วนของกระบวนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (2) ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (3) ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (4) ยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานครสู่ประชาคมอาเซียนนั่น กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า กรุงเทพมหานครได้มีการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์อย่างครบถ้วนในทุกมิติ รวมทั้ง ได้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องทุกระยะแต่ในส่วนของการควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว กลับพบว่ายังเป็นไปในรูปแบบของการปฏิบัติงานตามปกติที่หวังเพียงเพื่อให้ครบถ้วนตามโครงสร้างของงานตามยุทธศาสตร์ และยังติดยึดอยู่กับระบบราชการที่มีความเคร่งครัดต่อระเบียบกฎเกณฑ์มากเกินไป ขาดความยืดหยุ่น และไม่เปิดโอกาสให้หน่วยปฏิบัติใช้ความรู้ความสามารถ หรือประยุกต์แผนปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันก็ขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ อย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
ปิงเมือง ช. (2018). การนำแผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครในปี 2558 ไปสู่การปฏิบัติ. Integrated Social Science Journal, Mahidol University, 2(2), 215–228. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/146175
Section
Academic Article

References

กระทรวงการต่างประเทศ. 2552. รายงานประจำปี พ.ศ. 2552: บทบาทไทยในอาเซียน. ข่าวประจำวันที่ 2 เมษายน 2555: 70 ปี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ/ เรียนรู้ ใส่ใจ ใช้ประโยชน์ AEC 5 หน้า
ธิดารัตน์ โชคสุชาติ.(2553).ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทย. วารสาร มฉก.วิทยาการ.ปีที่ 14 ฉบับที่ 27 กรกฎาคม - ธันวาคม 2553.
นพพร อัจฉริยวนิช. (2555).Toward ASEAN 2018.หนังสือวิชาการ สพข. ประจาปี 2555.
พงษ์ธร ธัญญสิริ .(2555). การเปิดรับข่าวสารและการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกระทรวงยุติธรรม2555.สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.
ศศิธร พลัตถเดช และ ศวรรณรัตน์ จิตรเกษมสาราญ.(2556).แผนรับมือการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.วารสารเศรษฐกิจและสังคม ปีที่50 ฉบับที่2 เมษายน-มิถุนายน 2556.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (เข้าถึงโดย www.bqiconsultant.com/private_folder/detrail /09000103.doc )
_______________________.(2550).การจัดการและพฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์ม.ฃ
140 หลักการจัดการสมัยใหม่ภาคปลาย ปีการศึกษา 2553วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์สารสนเทศ สานักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลการประชุมสัมมนาวิชาการประจาปี2555. “เรื่องปรับระบบราชการไทยเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียน2015” เข้าถึงโดย http://www.fisheries.go.th/adminis/%5Cimages%5Casean5.pdf
สาคร สุขศรีวงศ์.(2553).การจัดการ : จากมุมมองนักบริหาร.กรุงเทพฯ : บริษัทจี.พี.ไซเบอร์พรินทร์ จำกัด.
กรุงเทพมหานคร ( 2556 ).แผนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของกรุงเทพมหานครในปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร.
สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง. (2554).การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.สำนักงานผู้แทนการค้าไทย.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ.(2555). อาเซียน รู้ไว้ ได้เปรียบแน่.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. (2554). การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุดม ทุมโฆสิต. (มปป.). ทฤษฎีองค์การและการจัดการ.การบรรยายครั้งที่ 1 และ 2 วิชา ร.ศ. 610.
ธิดารัตน์ โชคสุชาติ. 2553. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ความสำคัญและการเตรียมความพร้อมของไทยAsian Economic Community :Importance and Thai Preparations. วารสาร มฉก. วิชาการ 99 -112 หน้า.
ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สิงหาคม. 2552. บทวิเคราะห์เรื่องผลกระทบของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อเศรษฐกิจการค้าของไทย ใน 6 ปีข้างหน้า. 23 หน้า
อภิญญา เลื่อนฉวี. 2553. เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในอาเซียน : ผลกระทบอย่างไรต่อไทย. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2555, จาก http://www.kpi.ac.th.
พิทยา บวรวัฒนา. 2538. รัฐประศาสนศาสตร์ : ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ. 1887 – 1970) กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
มยุรี อนุมานราชธน. (2548). นโยบายสาธารณะ แนวคิด กระบวนการและการวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) เชียงใหม่: คะนึงนิจการพิมพ์.
วรเดช จันทรศร. (2539). การนํานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (ในเอกสารการสอนชดุวิชานโยบาย สาธารณะและการวางแผน หนวยที่ 5) นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิทยาการจัดการ.
วรเดช จันทรศร. (2551) ทฤษฎีการนํานโยบายสาธารณะ ไปปฏิบัติ. กรงุเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Boapimp S. (1983). Perceptions and Expectations of the Leadership Behaviors of Presidents in Selected Rural Two - year Colleges as Seen by Faculty and Governing Board Members. The Graduated College : Oklahoma State University.
Edward III, George C. &Sharkansky, Ira . (1978).The Policy Predicament : Making and Implementing Public Policy. San Francisco:
W.H. Freeman and Company. Robert, R.R. (1977). Policy Management and Organizational Behavior : A Contingency Approach. New York : West Publishing Company.
Kerr, Donna H. (1976). The logic of Policy and Successful Policies. Policy Science7(4): 359-363.
Mazmanian, Daniel and Sabatier, Paul. (1989). Implementation and Public Policy. The United States of America: Scott, Foresman and Company.
Rein, Martin. (1983). From Policy to Practice. London: the MacMillan Press.
Van Horn, Carl E. (1979).Policy Implementation in Federal System. National Goals and Local Implementators. Lexington, Massachusetts:D. C. Heath and Company
Van Meter, Donald S. and Van Horn, Carl E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework.Administration and Society6, 4 (February): 4
Samara, Khalid. (2013). Readiness: As AMicrofoundational Approach To Knowledge Management. Journal of Knowledge Management Practice, 14 (1), 30-39.__