ความสัมพันธ์ของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การ : กรณีศึกษา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)

Main Article Content

รัตนสุคนธ์ สมนึก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันกับองค์การของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) (2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยตามลักษณะประชากรศาสตร์กับความผูกพันกับองค์การของศูนย์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การ : กรณีศึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)  โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการในสังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รวมจำนวน 264 คน สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ความผูกพันกับองค์การของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ. รมน.) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัด รายได้ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานกับความผูกพันกับองค์การของศูนย์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ. รมน.) พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ต่างกันจะมีความผูกพันกับองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (4) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันกับองค์การของศูนย์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ. รมน.) พบว่า ระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับความผูกพันกับองค์การของศูนย์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ. รมน.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางบวกในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ออนไลน์). สืบค้นจาก :http://www.isocthai.go.th
ชวนา อังคนุรักษ์พันธุ์. (2546). การรับรู้วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในธุรกิจโรงแรมเขตเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี. การจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรมนุษย์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2550). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: รัตนไตร.
ธงชัย สันติวงษ์. พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. 2540: 15
ธัญญลักษณ์ บรรจงแก้ว. (2548). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 ในปีงบประมาณ 2548. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
นภาเพ็ญ โหมาศวิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของสมาขิกในองค์การ : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2532
พิเชฐ ทรวงโพธิ์, วันทนีย์ ภูมิภัทราคม และธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
อัจฉราวรรณ สายวิจิตร. วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์การของสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการทั่วไป) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 2551
Daft, R. L. The leadership experience. 2nd ed. Orlando, Fl : Hartcourt College Publishers. 2002
Daniel Katz and Robert Kahn. The Social Psychology of Organizations. 1978
Dhira J. Ramdeja. (2544). Organizational Comitment of Thai University Instructors : A study of Public and Private University in Bangkok Metropolis. Doctoral Dissertation, National Institute of Development Administration.
Porter, L.W. and R.M. Steers. Organizational Work and Personal Factors in Employee Turnover and Absenteeism. 1973: 151-176.
Sheldon, M.E. Investment and Involvement as Mechanism Predicting Commitment to the Organizational. Administrative Science Quarterly. 1971: 143
Sheldon, Mary E. (1971). Investments and Involements as Mechanism Producing Commitment to Organization,” Administrative Science Quarterly. 16 (June 1971) : 143.
Stein, Franklin. (1975). Psychosocial Occupational Therapy: A Holistic Approach. Australia: Delmar.
Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York Harper and Row. 1973: 125
Thompson, Steven K. (1990). “Adaptive Cluster Sampling”. The American Statistical Association,85(412), pp. 1,050–1,059.