โปรแกรมออกแบบจำลองเหตุการณ์การตรวจสถานที่เกิดเหตุ กรณีศึกษาคดีระเบิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างโปรแกรมออกแบบจำลองเหตุการณ์การตรวจสถานที่ เกิดเหตุ กรณีศึกษาคดีระเบิด ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่นำขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุ คดีระเบิด มาจำลองในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับการฝึกฝนและเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียน นายร้อยตำรวจ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยในการสร้างโปรแกรมผู้วิจัยจำลองเหตุการณ์การตรวจสถานที่เกิดเหตุเป็น 2 ภารกิจ คือ ภารกิจ Indoor เป็นการตรวจสอบภายในอาคาร กรณีระเบิดยังไม่เกิดการระเบิด จำนวน 5 ฉาก และภารกิจ Outdoor เป็นการตรวจสอบภายนอกอาคาร กรณีระเบิดเกิดการระเบิดแล้ว จำนวน 9 ฉาก โดยใช้ Graphic จากเกม GTA4 เป็นหลัก นำมาตกแต่งด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 และเขียนโปรแกรมขึ้นด้วยโปรแกรม Adobe Flash Professional CS6 เพื่อควบคุมการทำงานของโปรแกรม
ผลการทดลอง พบว่า ภารกิจ Indoor ข้อมูลขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีระเบิด ที่นำมาจำลองสถานการณ์ในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความถูกต้องทุกขั้นตอน ภารกิจ Outdoor ข้อมูลขั้นตอนการตรวจสถานที่เกิดเหตุคดีระเบิดที่นำมาจำลองสถานการณ์ในรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีความถูกต้องทุกขั้นตอน โดยทั้ง 2 ภารกิจ สามารถวัดผลเป็นคะแนนสำหรับผู้ที่ ทำการฝึกฝนและเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจากการให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 50 คน ทำการทดลองโปรแกรม พบว่า ภารกิจ Indoor การเล่นครั้งที่ 1 และการเล่นครั้งที่ 2 มีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการเล่นครั้งที่ 2 มีคะแนนมากกว่า การเล่นครั้งที่ 1 ภารกิจ Outdoor การเล่นครั้งที่ 1 และการเล่นครั้งที่ 2 มีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการเล่นครั้งที่ 2 มีคะแนนมากกว่า การเล่นครั้งที่ 1
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ชายแดนใต้. (2555). ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2557, จาก https://www.facebook.com/southborders/posts/328475817245588
ประสาน จิตร์เพชร และพิชัย ธานีรณานนท์. (2555). การพัฒนาแบบจำลองการชนของยานพาหนะ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557, จาก http://phoenix.eng.psu.ac.th/qa/Reference54/GradPaper/5210120083.pdf
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ. (2556). การก่อการร้าย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2558, จาก http://journal.stamford.edu/index.php/stamford-journal/article/download/48/36
Robert, C. D., & Michael, J. (no date). Crime scene robot and sensor simulation (Master’s thesis). Retrieved March 11, 2015, from http://vgrserver.cs.yorku.ca/~jenkin/papers/2009/vrst09-jenkin.pdf
T. L. J. Howard, A. D. Murta, & S. Gibson. (no date). Virtual Environments for Scene of Crime Reconstruction and Analysis (Master’s thesis). Retrieved February 19, 2015, from http://www.cs.man.ac.uk/~toby/papers/spie.pdf