รูปแบบการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษารูปแบบการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมแก่นักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมของตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตดังกล่าว ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลกับตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จำนวน 10 คน อาสาสมัครตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 3 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวที่เด่นคือการนำอาสาสมัครตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตมาร่วมดำเนินงานในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทั้งในมาตรการป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรม โดยการลงพื้นที่กับสายตรวจทั้งสายตรวจรถยนต์และสายตรวจเดินเท้า เพื่อคอยอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ทั้งการให้ข้อมูลและการแนะนำต่างๆ ในการออกตรวจพื้นที่ตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตได้ออกตรวจตามวงล้อของนาฬิกาอาชญากรรมที่มาจากผลการวิเคราะห์การเก็บรวมรวมจากช่วงที่เกิดอาชญากรรมมากที่สุด เนื่องจากกำลังตำรวจท่องเที่ยวมีน้อย ส่วนในการปราบปรามอาชญากรรมตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตจะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้ได้ซึ่งความรวดเร็วในการจับกุมผู้กระทำผิด ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจท่องเที่ยวนั้นได้แก่การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) และหลักความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) กับชุมชน ในการให้ความร่วมมือของชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่งในดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว ซึ่งตำรวจท่องท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตต้องอาศัยข้อมูลเบาะแสสำคัญที่มาจากประชาชนในชุมชน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรจะมีการจัดอบรมบุคลากรบ่อยๆ ทั้งด้านภาษาอังกฤษเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ควรเปิดรับสมัครอาสาสมัครตำรวจท่องเที่ยวทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่สามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา ซึ่งจังหวัดภูเก็ตเป็นแหล่งร่วมนักท่องเที่ยวที่หลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายภาษา เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังพลให้กับตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ในการมีส่วนร่วมการดำเนินงานในการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว และ ควรมีการประสานงานระหว่างตำรวจท่องเที่ยวกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองหรือสถานทูตต่างๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการสแกนหรือตรวจสอบประวัตินักท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันกลุ่มอาชญากรเข้ามาในประเทศโดยการแฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยว
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ผ่านคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กรมการท่องเที่ยว. (2556). บรรณาธิการ. สถานการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวปี 2555 และทิศทางใน
อนาคต ปี 2556.วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.
กองบังคับการปราบปราม.(2556). “แนวคิดเกี่ยวกับงานป้องกันอาชญากรรม”. เข้าถึงได้จาก :
http://www.csd.go.th/Dimensions_csd/Chapter%2002.pdf. (Chapter 02) p.10-28. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2556.
คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตาม
รัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.2540: ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
นงลักษณ์ ผดุงทศ. (2554). การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่การก่ออาชญากรรมต่อ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใน
ประเทศไทย : ศึกษากรณีจังหวัดท่องเที่ยวของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). “อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องในภาคใต้”. เอกสารออนไลน์. เข้าถึง
ได้จาก : ww.ksmecare.com/Article/82/29615/อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องในภาคใต้. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2556.
สถานีตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. (2556). “มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
นักท่องเที่ยวของตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ต”. สถานีตำรวจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต.
สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย. (2556). “สถานการณ์ และแนวโน้มด้านการท่องเที่ยว.แผนพัฒนาการ
ท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559”. เอกสารออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://www.attm.biz/news/326755. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2556). ยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกแก่
นักท่องเที่ยว ปี 2555-2558. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สันทัศน์ เชื้อพุฒตาล. (2541). ศึกษา การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนต่อ
นักท่องเที่ยว : ศึกษาเฉพาะความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวเมืองพัทยา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
อภิชาต อุตรมาตย์. (2542). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแก่นักท่องเที่ยวของผู้ประกอบการ
ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Kelling, George L. (1998). “Police and Communities: The Quiet Revolution,” Perspectives on Policing (February 1988) .
Rosenbaum, Dennis P., Eusevio Hernandez, and Sylvester Daughtry, Jr. (1991). “Crime Prevention, Fear Reduction, and the Community.” Local Government Police Management, ed. Will liam A. Geller. (Washington, D.C., International City Management Association, 1991): p.96.