กลยุทธ์การพัฒนาด้านการสื่อสารขององค์การทางการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกด้านการสื่อสารภายในองค์การ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2)เพื่อวิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์การพัฒนาด้านการสื่อสารองค์การ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 70 คนที่ตอบแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์เพื่อจัดประเภทและแยกแยะหมวดหมู่ข้อมูล (Typology and Taxonomy Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกด้านการสื่อสารภายในองค์การประกอบด้วย 1) จุดแข็ง มี 9 รายการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.92 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 2) จุดอ่อน มี 9 รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68 3) โอกาส มี 6 รายการ ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.02 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 4) อุปสรรคมี 5 รายการผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 ผลการวิเคราะห์และการสร้างกลยุทธ์มี 5 ด้าน 1) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านคุณภาพทางวิชาการ และการเรียนการสอน 2)กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเสริมเสร้างศักยภาพการผลิตองค์ความรู้ และการวิจัยพัฒนา 3)กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กรในการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม 4)กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเตรียมพร้อมรองรับ และก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 5)กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนแนวทางการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการหรือโครงการรองรับกลยุทธ์ ที่มีการคำนึงถึงระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติการ
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
เกรียงไกร เจียมบุญศรี และจักร อิทรจักร. (2544). คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคล Human Resources
Management. กรุงเทพมหานคร : บุ๊คแบงก์
ชลธิศ ธีระฐิติ.(2547).การบริหารการเปลี่ยนแปลง. ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารภาครัฐ. พิมพ์ครั้งที่ 1นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปานทิพย์ พยัพพานนท์. (2552). กระบวนการสื่อสารภายในองค์กรเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขานิเทศศาตร์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
ทินกร เจรจาปรีดี. (2553). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของแกรมมี่โกลด์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขานิเทศศาตร์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
วันวิสาข์ ล้ำตระกูล. (2552). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาวัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาสื่อสารมวลชน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วราวรรณ ฐาปนธรรมชัย.(2556). การศึกษากลยุทธ์การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ: มหาวิทยาลัยมหิดล
วรางคณา ผลประเสริฐ.(2553).แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์.ในเอกสารการสอบชุดวิชาการบริหารท้องถิ่น.นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ จิตรลดา อมรวัฒนา และอาจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ.(2554).การศึกษาสถานภาพการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษาคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ณัฎฐ์ชุดา วิจิตรจามรี.2554. การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิทยา บวรวัฒนา.(2550) .รัฐประศาสนศาสตร์ ทฤษฎีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887-ค.ศ.1970). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ.(2546).ทฤษฎีองค์การและกระบวนการจัดการ : Organization Theory and Management Process”เอกสารประกอบการเรียน.สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล.
สมพงษ์ เกษมสิน.(2546) การบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์
สมยศ นาวีการ.(2527).การติดต่อสื่อสารขององค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
หวน พินธุพันธ์.(2549). นักบริหารมืออาชีพ.กรุงเทพมหาคร : ศูนย์การพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
เสนาะ ติเยาว์. (2530). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมพงษ์ เกษมสิน(2514). http://www.oknation.net/blog/pttpoy/2008/12/22/entry-1 สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2556. การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ, 2514), หน้า 13-14.)
หวน พินธุพันธ์(2549) ความหมายของการบริหารจัดการ
http://www.edu.nu.ac.th/selfaccess/researches/admin/upload/691190812160916is.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2556
อุทิศ ขาวเธียร.(2546) การวางแผนกลยุทธ์ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกกมล เอี่ยมศรี.(2554).การใช้ TOWS Matrix. วันที่ค้นข้อมูล 28 ตุลาคม 2556. NEW MANAGEMENT FORUM: Central Knowledge Society.
Content Analysis. The Annenberg School for Communication, University of Pennsylvania. Copyright 2013 by SAGE Publications, Inc.