การรับรู้และความคาดหวังเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของ แรงงานนอกระบบในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การรับรู้และความคาดหวังเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 100 ราย สรุปผลการวิจัยโดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าแรงงานนอกระบบมีการรับรู้สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมของแรงงานนอกระบบ 5 ด้าน คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) กรณีชราภาพ (เงินบำนาญ) พบว่ากรณีตายมีค่าระดับการรับรู้มากที่สุดในประเด็นได้รับเงินทำศพ 20,000 บาท เป็นร้อยละ 100.0 และระดับการรับรู้ต่ำที่สุดในประเด็นหากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุต้องจ่ายเงินสมทบ 1 ใน 6 เดือน จึงจะได้รับสิทธิเป็นร้อยละ 30.0 ส่วนความคาดหวังต่อสิทธิประโยชน์ส่วนใหญ่คาดหวังว่ารัฐจะช่วยค่าชดเชยสูงขึ้นและจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กระทรวงแรงงาน. (2537). พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.3537. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน.
กระทรวงแรงงาน. (2542). พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงแรงงาน.
กฤษณา ศักดิ์ศรี. (2534). องค์การกับมนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: อักษรวิทยา.
กรองแก้ว อยู่สุข. (2547). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์การ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.
นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2535). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นพ ศรีบุญนาค. (2546). ศาสตร์การจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.
เปรมชัย สโรบล. (2534). ปัญหางานประกันสังคมของโรงพยาบาลของรัฐ ศึกษาเฉพาะกรณีของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2550). มนุษย์สัมพันธ์ : พฤติกรรมมนุษย์ในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. (2535). ประกันสังคม: ความพร้อมของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุจิตรา ศรีประพันธ์. (2534). ผลกระทบของระบบประกันสังคมต่อระบบบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: กองแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข.
หลุยส์ จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: สามัคคีศาสน์.
อมร รักษาสัตย์. (2533). แนวความคิด ปรัชญา การสร้างความมั่นคงในสังคมด้านการจัดการสวัสดิการและการประกันสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ป.ป.พ.
อรพรรณ หันจางสิทธิ์. (2522). ทัศนคติของประชาชนต่อการประกันสุขภาพตามโครงการประกันสังคมแห่ง
ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประชากรศาสตร์. นครปฐม:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.