ปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

น้ำอ้อย คำชื่น
ภานุการณ์ สนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาและเพื่อทราบระดับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษฯ


ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) รวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ภาควิชาสังคมศาสตร์ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 45 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามากที่สุดคือ ปัจจัยการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์(Mean = 1.50) โดยมีการได้รับผลดีหรือผลประโยชน์จากการเข้าร่วมได้รับคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด   ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่างน้อยที่สุดคือ ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการวางแผน (Mean = 0.75) โดยมีการทักท้วงเมื่อไม่ได้มีบทบาทในการตัดสินใจในกิจกรรมได้รับคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด   ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาภาคพิเศษคือ เวลา เนื่องจากนักศึกษาภาคพิเศษส่วนใหญ่มีงานประจำที่ทำอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีเวลาในการมาเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดได้ ในขณะที่นักศึกษาภาคปกติ มีปัญหาและอุปสรรคคือการไม่ค่อยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัด


สำหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือ หลักสูตรควรจัดกิจกรรมที่ให้รุ่นพี่และรุ่นน้องมีส่วนร่วมกันและควรแจ้งรายละเอียดกิจกรรมที่ชัดเจนล่วงหน้า 5-7 วัน  และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการจัดกิจกรรม ขอให้แจ้งนักศึกษาให้ทราบด้วย นอกจากนี้ ทางหลักสูตรฯควรจัดรูปแบบกิจกรรมให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.คพ.กับการมีส่วนร่วมของประชาชน. เข้าถึงได้จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/info_parti.html (online) สืบค้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2556.
เจริญผล สุวรรณโชติ. (2536). ทฤษฎีการบริหาร.กรุงเทพฯ: ทัชชิ่งเอ็ท.
นงเยาว์ หลีพันธุ์. (2537). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศน์. (2521). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา.กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษา นโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทวิทยุรายการ "รู้รักภาษาไทย". (2550). ความหมายของกิจกรรม. ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2550 เวลา 7.00-7.30 น. เข้าถึงได้จากhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1538 (online)
พงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง. (2552). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของนักศึกษาของแอสติน.เข้าถึงได้จากhttp://www.gotoknow.org/posts/253391 (online) สืบค้นวันที่ 10 พฤษภาคม 2556.
พิชณีย์ อนุกูล. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทของคณะกรรมการสภาตำบล เขตอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(พัฒนาสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิสุทธิ์ วรรณฉัตรสิริ. (2546). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและผู้บริหารโรงเรียนของการจัดระเบียบสังคมในชุมชนกลุ่มรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มานิต ป่าชัด, จุไร โชคประสิทธิ์ และอรสา โกศลานันทกุล. (2554). การศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรม นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี.หลักสูตรครุศาสมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.เข้าถึงได้จาก http://grad.vru.ac.th/pdf-journal/JourTs51/07-Manit.pdf วันที่ 19 พฤศจิกายน 2556.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี .(2553). กิจกรรม. เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ (online) สืบค้น วันที่ 12 พฤศจิกายน 2555.
วิรวรรณ บรรจงช่วย. (2551). การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.0109 501การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อ
พัฒนาท้องถิ่น 4.3 ลำดับขั้นตอนและระดับของการมีส่วนร่วม.(e-learning)เข้าถึงได้
จากhttp://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0109501/Unit04/ unit04_004.htm (online)
สำนักคุมประพฤติภาค 4 .(2547). เอกสารรายงานวิจัยการมีส่วนร่วมของแกนนำเครือข่ายชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.กรมคุมประพฤติ.
อุทัยวรรณ บัวครื้น. (2531). ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้านในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Roger, E. & Shoemaker, F. (1971). Communication of Innovation: Across-Culture Approach. 2nd .ed. New York: The Free Press.