การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของค่ารักษาพยาบาลตาม ระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน การศึกษาการสรุปรหัสคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของค่ารักษาพยาบาลตาม ระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ที่มีผลต่อการปรับค่านํ้าหนักสัมพัทธ์ (Adjust Relative Weight : AdjRW) และมีผลกระทบต่อค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปริมาณของเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มการวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group, DRGs) ที่มีผลต่อ AdjRW นำมาเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในและเพื่อเปรียบเทียบ AdjRW และค่ารักษาพยาบาลที่ได้ก่อนและหลังการตรวจพบความคลาดเคลื่อนในการสรุปการวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในได้รับจัดสรรตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่จำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557
ผลการศึกษาการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 1,107 ฉบับ พบว่ามีเวชระเบียนผู้ป่วยในที่มีความคลาดเคลื่อนในการสรุปคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยใน จำนวน 322 ฉบับ และหลังจากที่ Auditor ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมคำวินิจฉัยโรค หัตถการและการผ่าตัด ให้ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว พบว่ามีความแตกต่างของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่มีผลต่อค่า AdjRW จำนวน 216 ฉบับ โดยทำให้ค่า AdjRW เพิ่มขึ้น 182.84 ซึ่งมีผลทำให้รพ. ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2,420,928.35 บาท
ในการศึกษาครั้งนี้มีประเด็นที่เพิ่มเติมพบว่าความคลาดเคลื่อนในส่วนของโรคหลัก โรคร่วม โรคแทรกซ้อน หัตถการ และการผ่าตัด เมื่อ Auditor ทบทวนและแก้ไข เพิ่มเติมให้ถูกต้อง ครบถ้วนแล้ว พบว่าการสรุปคำวินิจฉัยโรคที่แตกต่างกันมีผลต่อการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ส่งผลต่อค่า AdjRW ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ต้นสังกัดต้องจ่ายคืนให้กับโรงพยาบาลฯ ดังนั้นแพทย์ควรตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจการสรุปคำวินิจฉัยโรค ซึ่งควรมีการตรวจสอบ ทบทวนเวชระเบียน แบบ Real time อย่างต่อเนื่อง โดย Auditor ประจำโรงพยาบาลที่มีความรู้ ความชำนาญ เพื่อช่วยให้การบันทึกและการสรุปคำวินิจฉัยโรค ในเวชระเบียนผู้ป่วยมีความถูกต้องและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
อรทัย เขียวเจริญ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, วัชรา ริ้วไพบูลย์, ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร, และยศ ตีระวัฒนานนท์. การจัดกลุ่มโรคร่วมและทางเลือกในการจ่ายเงินสำหรับการบริการผู้ป่วยในระยะกึ่งเฉียบพลันและไม่เฉียบพลันของประเทศไทย. ศูนย์วิจัยติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2552)
สำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ 2553 แนวทางการตรวจสอบหลักฐานในเวชระเบียนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2553 สำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2550 คู่มือการจัดการกลุ่มวินิจฉัยกลุ่มโรคร่วมและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 4.0 พ.ศ. 2550
นพพล ประกรศรี, และวิชชา อมรยิ่งเจริญ. การเปรียบเทียบของค่าใช้จ่ายทางสุขภาพของผู้ป่วยกับจำนวนที่เบิกจ่ายเงินคืนแก่โรงพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในผู้ป่วยไทยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2549)
พจน์ชวิทย์ อภินิเวศ. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่า RW ตามเกณฑ์ของ DRG สำหรับผู้ป่วยในของภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2545)
ปานทิพย์ สวัสดิ์มงคล, วันดี วันศรีสุธน, เพ็ญพร คูณขาว, และสุมาลย์ วงษ์ไทย. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการให้รหัสโรค หัตถการและการผ่าตัดของผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศิริราช : งานเวชระเบียน โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล เวชบันทึกศิริราช 2552; 3: 121-130
วันดี วันศรีสุธน, ศุภโชค สิงหกันต์, และสุดสบาย จุลกทัพพะ. การศึกษาความคลาดเคลื่อนของการสรุปการวินิจฉัยโรคและหัตถการที่มีผลต่อการให้รหัส ICD จากการตรวจสอบรหัส ICD real time ของผู้ป่วยใน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช งานเวชระเบียนโรงพยาบาลศิริราช: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เวชบันทึกศิริราช 2555; 5:62-68
วันดี วันศรีสุธน, อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์, รวิศ เรืองตระกูล, ดวงกมล โกวิทวิบูล, และรพีร์วงศ์ ประชากุล. การศึกษาความแตกต่างในการสรุปคำวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group DRG) จากการตรวจสอบรหัส ICDของผู้ป่วยในภาควิชาศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลศิริราช: หน่วยรหัสโรค งานเวชระเบียน โรงพยาบาลศิริราช ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เวชบันทึกศิริราช 2555; 5:69-76
Alan H. Rosenstein, Michelle O’Daniel, Susan White, Ken Taylor. Medicare’s Value-Based Payment Initiatives: Impact on and Implications for Improving Physician Documentation and Coding. Am J Med Qual 2009; 24: 250