แนวปฏิบัติที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนวปฏิบัติที่ดีในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาประสบการณ์ในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ ผู้บริหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มที่สอง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 20 คน
ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น เริ่มต้นจากการศึกษาระเบียบปฏิบัติจากคู่มือแนวปฏิบัติ และสอบถามจากบุคลากรที่มีประสบการณ์การขอตำแหน่งวิชาการมาแล้ว รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในด้านนี้โดยตรง และขั้นตอนต่อไป ผู้ให้ข้อมูลหลักกล่าวว่า คือการตรวจสอบคุณสมบัติ ผลงาน และชั่วโมงการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ต่างๆที่กำหนดไว้
ส่วนปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นเกิดจากปัญหาและอุปสรรคภายในของตัวบุคลากรผู้ขอตำแหน่งเอง นั่นคือ การขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ แนวทางปฏิบัติในการขอตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งการขาดความพร้อมในการยื่นหลักฐานต่างๆที่จะต้องใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนี้ปัญหาและอุปสรรคอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มบุคลากร คือภาระงานที่มีจำนวนมาก ส่งผลต่อการเตรียมเอกสารหรือการรวบรวมผลงานทางวิชาการได้ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้นยังเกิดจากปัญหาและอุปสรรคภายนอกอีกด้วย นั่นคือระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ส่งผลให้ผู้ที่เตรียมขอตำแหน่งต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดเรียงหรือการรวบรวมผลงานตามไปด้วย และเกิดจากการขาดผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำแนะนำอย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการรายใหม่ ไม่สามารถขอรับคำแนะนำได้อย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งเกิดจากระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการขอตำแหน่งทางวิชาการไม่มีความทันสมัย ส่งผลให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆไม่สะดวก ไม่รวดเร็ว และข้อมูลที่ได้รับไม่มีความถูกต้อง/เที่ยงตรง
สำหรับ พัฒนาประสบการณ์ในกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ พบว่า บุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขอตำแหน่งทางวิชาการควรให้การสนับสนุนผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการทั้งรายใหม่และรายเก่า โดยเริ่มจากการจัดโครงการอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งอาจจะให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการเป็นบุคลากรในการอบรมด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการต่อไป นอกจากนี้ควรมีการจัดทำคู่มือหรือระเบียบการขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาปรับปรุงให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งควรพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ขอตำแหน่งทางวิชาการ และสามารถเป็นสิ่งกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้ขอตำแหน่งรายใหม่ให้มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ช่อทิพย์ ทินบัว. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานทางวิชาการก่อนและหลังเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของครูประถมศึกษา : การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวนพิศ สุศันสนีย์. (2537). การเขียนผลงานทางวิชาการ. ข่าวสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กุมภาพันธ์-เมษายน. 16 (4): 7.
เชาว์ โรจนแสง. (2535). ความรู้ทั่วไปในการเขียนผลงานทางวิชาการ. ข่าวสารกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กันยายน. 3 (27): 26-32.
เทพฤทธิ์ ศรีปัญญา. (2537). การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของข้าราชการครูสายผู้สอน สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญเรือง สมประจบ. (2542). ปัญหา ความต้องการ และเจตคติในการจัดทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์คณะศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. ปทุมธานี: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
ปัจจะ กุลพงษ์. (2543). การผลิตผลงานทางวิชาการ : วิทยาศาสตร์สุขภาพ, ข่าวสารกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรกฎาคม-สิงหาคม. 11(86): 16-19.
ปรีชา ทิชินพงศ์. (2535). การเขียนผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ยุวดี ตั้งคำ. (2547). การประเมินโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
รัฐพล พรหมสะอาด. (2547). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิเชียร ประยูรชาติ. (2536). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการจัดทำผลงานทางวิชาการของข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู.
ศักรินทร์ สุวรรณโรจน์. (2536). แนวทางการทำผลงานของข้าราชการครู, วารสารข้าราชการครู. ตุลาคม-พฤศจิกายน. 11(1): 15-17.
ศราวุธ สีดี. (2547). ทัศนะในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภนิมิต ณ เชียงใหม่. (2541). การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2550). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน, วารสารศึกษาศาสตร์. พฤศจิกายน-มีนาคม. 18(2): 85-98.
สมาน ราชบุรี. (2542). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดทำผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกการศึกษาผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุนันทา ฟาเบรอ. (2542). แนวทางการเขียนงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
สำนักกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพมหานคร: ทบวงมหาวิทยาลัย.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). การผลิตเอกสารและผลงานทางวิชาการสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย, ครุศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัครเดช เกตุฉ่ำ. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาการขอตำแหน่งทางวิชาการ. แหล่งที่มา: http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/index.php/blog-member/59-CHAWANUN/222-2011-03-15-06-22-18.html [ มกราคม 2557]