แนวทางในการเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับระบบการขนส่งของ โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า บริเวณบ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แนวทางในการเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับระบบการขนส่งของ โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า บริเวณบ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเกิดขึ้นของโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายในประเทศสหภาพพม่าเพื่อเป็นฐานการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่จากเรือเดินสมุทรในภูมิภาคนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้นั้น ส่งผลให้ประเทศไทยได้มีการวางแผนในการพัฒนาระบบการขนส่งในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่าบริเวณบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรีขึ้นอย่างรวดเร็ว วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อการนำเสนอนโยบายระดับท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อระบบการขนส่งกับโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน พร้อมแนวคิดทางออกร่วมกันของชุมชนอันนำไปสู่การนำนโยบายระดับท้องถิ่นประกอบไปด้วย 3 นโยบาย คือ 1. นโยบายการเพิ่มศักยภาพอำนาจการบริหารจัดการให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 2. นโยบายการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้เกิดการปรับตัวด้วยพลังชุมชน 3. นโยบายการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนกับชุมชน ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวจะช่วยให้ชุมชนได้สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์การเชื่อมต่อระบบการขนส่งในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
กรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม. (2548). สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม การร้องทุกข์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
พัฒน์ บุณยรัตพันธุ์. (2549). การสร้างพลังชุมชน โดยขบวนการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : เลิฟและลิพเพรส.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (บก.). (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเอเชีย.
ปิยะพงษ์ บุษบงก์. (2552). การกำหนดนโยบายสาธารณะ : กระบวนทัศน์ แนวทาง ตัวแบบ กรอบ และเทคนิค. มหาสารคราม : สำนักพิมพ์ เสมาธรรม.
Creighton James L. ( 1981). The Public Involvement Manual. Cambridge : Abd Books.
Olsen Marvin E. (1968). The Process of Social Organization. New York : Holt, Rine Hart and Winston.