ความตระหนักของประชาชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ศึกษากรณี ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ความตระหนักของประชาชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ศึกษากรณี ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ณัธท์ณริน พูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักและความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักของประชาชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ศึกษากรณีตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนท้องถิ่นที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 250 ครัวเรือน ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การผันแปรทางเดียว การทดสอบการแตกต่างระหว่างกลุ่ม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำเสนอข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนในระดับสูง ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน ได้แก่ อาชีพ (0.001) ประสบการณ์การได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง (0.01)  เพศและความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน (0.05) ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการศึกษาคือ ประชาชนมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารน้อย ตลอดจนให้ความสำคัญในการประกอบอาชีพมากกว่า ทำให้ประชาชนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน โดยมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัยว่า ควรมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความสำคัญ และความรู้ที่ถูกต้องของทรัพยากรป่าชายเลนให้แก่ประชาชนท้องถิ่นให้มากกว่าเดิม รวมทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่นควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนมากขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความตระหนักของประชาชนท้องถิ่น ควรมีการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้แก่ประชาชนท้องถิ่นเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าชายเลนในท้องถิ่น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงข้อดีหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนอย่างจริงจังเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2553). โครงการการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลน พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
ทวีสินธิ์ สิทธิกร. (2535). บูรณาการสวนสุขศึกษา.กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และปกเจริญผล.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2555). รายงานสาธารณะ “สถานการณ์ป่าไม้ไทย 2555”. (online). Available: http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id= 927:seubnews &catid /.
รัชฎาภรณ์ เจริญพร้อม. (2550). ความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของฝุ่งละอองต่อระบบนิเวศในเขตอุตสาหกรรมเหมืองหินปูนและโรงโม่ บด และย่อยหิน กรณีศึกษา ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิน พันธุ์พินิจ. (2549). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
Werkmeister, W. H.,. (1971). AN INTRODUCTION TO CRITICAL THINKING. LincolnNebraska: John Publishing Company.