ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อ 1) ศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 2) เปรียบเทียบขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 และ 4) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 8 สถานี จำนวน 400 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน ด้านความรู้สึกมั่นคงในการทำงาน และด้านความพอใจในงานและสภาพ แวดล้อมในการทำงาน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ) 2) เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 6 ที่มีเพศ ชั้นยศ อายุ และสายงานที่ปฏิบัติแตกต่างกันมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 6 ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยจูงใจและปัจจัยบำรุงรักษา อยู่ในระดับมาก ชุดตัวแปรปัจจัยจูงใจ และปัจจัยบำรุงรักษาที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ประกอบด้วย 1) ความก้าวหน้าในงาน 2) การปฏิบัติงาน 3) การปกครองบังคับบัญชา 4) ความรับผิดชอบ และ 5) ความสำเร็จในงาน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 91.7 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน = -.243+.244(ความก้าวหน้าในงาน)+.429(การปฏิบัติงาน)+.234(การปกครองบังคับบัญชา)+6.447E-02(ความรับผิดชอบ)+8.307E-02 (ความสำเร็จในงาน)
Article Details
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาต CC Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) โดยต้องแสดงที่มา/การอ้างอิงจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหา
- ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ (ซึ่งหมายรวมถึง บรรณาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิในกองบรรณาธิการ หรือ บรรณาธิการรับเชิญ) แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารฯ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตัดทอน/ปรับแก้ถ้อยคำบางประการเพื่อความเหมาะสม
References
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. 2543. จิตวิทยาการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ดีจำกัดเพลท.
ยงยุทธ เกษสาคร. 2555. ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
สร้อยตระกูล อรรถมานะ. 2550. พฤติกรรมองค์การทฤษฎีประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โสภณ ศรีวพจน์. 2548. การบริหารงานตำรวจยุคใหม่. นครปฐม: โรงพิมพ์พันตาวงษ์ พริ้นติ้ง.
Anthony, William. 2002. Human Resource Management: A Strategic Approach. 4th ed. Florida: Dryden Press Harcount Brace College Publishers.
Ivancevich, John M. 2007. Human Resource Management. 10th ed. New York: McGraw-Hill.