การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและผู้พักอาศัยหอพักเอกชนต่อการป้องกันยาเสพติด การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและผู้พักอาศัยหอพักเอกชนต่อการป้องกันยาเสพติด

Main Article Content

วสันต์พรรษ พรภัทรพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและผู้พักอาศัยหอพักเอกชนต่อการป้องกันยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทการประสานงานร่วมกันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นที่อยู่อาศัยของนักเรียน/นักศึกษาประเภทหอพักในเขตพื้นที่ตำบลโพไร่หวาน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและผู้พักอาศัยหอพักเอกชนต่อการป้องกันยาเสพติด 3) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าชุดปราบปรามยาเสพติด ส่วนภูมิภาคเพชรบุรี บุคลากรศูนย์อำนวยการเพื่อเอาชนะยาเสพติด จังหวัดเพชรบุรี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโพไร่หวาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี บุคลากรฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ประกอบการและผู้พักอาศัยหอพักเอกชน ตำบลโพไร่หวาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งสิ้น 13 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเอกสารจะเป็นการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analysis induction) เชิงพรรณนา โดยการตีความและสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดประเภทแล้วแยกหมวดหมู่ข้อมูลที่ได้ศึกษา (Typology and Taxonomy Analysis)


ผลการศึกษาพบว่า  บริบทของการประสานงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีการวางแผนบูรณาการร่วมกันระหว่างส่วนราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการหอพักภาคเอกชน ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ ปัญหายาเสพติดที่พบการแพร่ระบาดไปยังหมู่นักเรียน/นักศึกษา จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ตลอดจนให้ความสำคัญกับภาคประชาชนในการร่วมค้นหาสาเหตุของปัญหา และมีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนดำเนินกิจกรรม ส่วนร่วมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน ส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล ด้วยการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วมแล้วนั้น ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคประชาชนส่วนรวมย่อมได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ เหล้าสุวงษ์. (2548). บทบาทการจัดการศึกษาของเทศบาลที่ยกฐานะขึ้นใหม่ในปีพุทธศักราช 2542 : กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
กรรณิกา ชมดี. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ : การศึกษาเฉพาะกรณีโครงการสารภี ตำบลท่าช้าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กุลภา วจนสาระ และกฤตยา อาชวนิจกุล.(2551). สถิติคดีอาญา 5 กลุ่มทั่วราชอาณาจักร. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สืบค้นจาก : http://statistic.ftp.police.go.th [19 เมษายน 2557]
ไกรสุข สินศุข. (2545). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันยาเสพติด : กรณีศึกษา ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
จักรกริช ใจดี. (2542). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
คู่มือนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (2555). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
จิรวัฒน์ อารักษ์รัฐ. (2544). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนแออัดต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลโพงพาง. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จำเนียร ช่วงโชติ. (2543). จิตวิทยาการรับรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฉัตรสุดา รอบคอบ.(2542). การศึกษาบทบาทและแนวทางการส่งเสริมภาคธุรกิจเพื่อสังคม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2547). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน อ.เมือง จ.กาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ธวัชชัย ล้อมวงษ์. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันยาบ้า : กรณีศึกษาชุมชนที่อยู่ในเขตควบคุมดูแลของสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณัฐวัส สอนบุญ. (2545). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสถานีตำรวจนครบาลบางมด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทวีวงศ์ ศรีบุรี. (2539). สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มานพ คณะโต และคณะ. (2545). ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับอำเภอ : กรณีศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยอนุเคราะห์ไทย.
ยุทธ นุชสวัสดิ์. (2542). การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาบ้าในโรงเรียนมัธยม สังกัด : กรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รังสรรค์ ทิมพันธ์พงศ์. (2543). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บำรุงสาสน์.
ภคพัส ส่งวัฒนายุทธ. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด : ศึกษากรณี อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา.
นพพนิต ภาระกุล. (2549). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการดำเนินงานของสถานธนานุบาลเทศบาลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นวลศรี เปาโรหิตย์. (2545). จิตวิทยาสังคมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธีแนวทางวิธีการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
นอรอซี จันคุด. (2546). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ประกายพรึก.
บุษบง บุษปวณิช. (2550). ยูเอ็นระบุ โลกยังไม่ชนะสงครามยาเสพติด. ศูนย์ข่าว PACIFIC.
บำรุง ถุงน้อย. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เขตำบลพลูตาหลวง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะและและการบริหารงานบุคคล) มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ประพร วิบูลสุข. (2544). การมีส่วนร่วมของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมในการป้องกันอาชญากรรมของสถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประภาศรี เพ็งเอม. (2546). ภาพลักษณ์ของนักการเมืองกับการยอมรับของประชาชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย โปษยะจินดา และคณะ. (2544). รายงานประมาณการจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาและสารเสพติด พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
วินิจ เกตุขำ และคมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2544). บทบาทของผู้บริหารกับการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2540). พฤติกรรมการสื่อสาร. มปพ.
ศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด. สืบค้นจาก : http://nctc.oncb.go.th/ [4 ธันวาคม 2557]
สงวนศรี วิรัชชัย. (2546). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติงานองค์กรชุมชนระดับตำบล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สมศรี เฉลยมนต์. (2543). การดำเนินโครงการโรงเรียนสีขาวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุกิจ สุนทร. (2555). แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำหรับกลุ่มเยาวชน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สุชาติ สุขสะอาด. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สุพิณ เกชาคุปต์. (2536). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2519). พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. สืบค้นจาก : http://www1.oncb.go.th/raw/low4.html [28 พฤษภาคม 2557]
อนันต์ ทองไถ้ผา. (2548). ปัญหาการบริหารการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล ศึกษากรณีอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
อาณัติ ว่องอมรนิธิ. (2544). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์. (2542). ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Choen and Uphoff. (1979). ขั้นตอนการมีส่วนร่วม. สืบค้นจาก : http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2554/mph20954ni_ch2.pdf [19 เมษายน 2557]
Remmer, HH. (1954). Introduction to Opinion and Attitude. New York : Harper & Brothers Publisher measurement.