การตกหล่นทางการศึกษา: ต้นทุนค่าเสียโอกาสของสังคม การตกหล่นทางการศึกษา: ต้นทุนค่าเสียโอกาสของสังคม

Main Article Content

กัญญาวีร์ ศรีบุรี

บทคัดย่อ

หลายปีมานี้ ทุกประเทศทั่วโลกต่างตื่นตัวในการเรียกร้องสิทธิในการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง  ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา ที่มิเพียงแต่พยายามจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบให้เปล่าเท่านั้น แต่ยังขยายสวัสดิการดังกล่าวไปสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่นเดียวกับประเทศไทย รัฐบาลมีความพยายามขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 12 ปี เป็น 15 ปี ด้วยเจตนาเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากยังมีเด็กที่ตกหล่นหรือลาออกกลางคัน จากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ สังคม ทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสของสังคมตามมาอย่างน่าเสียดาย


บทความนี้ผู้เขียนมีความมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์และนำเสนอ เกี่ยวกับการตกหล่นทางการศึกษาในภาพกว้าง ๆ ในสาระของสภาวะความมีอยู่จริงของผู้ตกหล่นทางการศึกษา ใครรับประโยชน์ และใครควรรับภาระทางการศึกษา ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยสนับสนุนต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วเชื่อมโยงการตกหล่นทางการศึกษาไปสู่ต้นทุนค่าเสียโอกาสของสังคม เพื่อนำมาสู่บทสรุปและข้อเสนอแนะ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). (ร่าง) กรอบแนวทางในการดำเนินงานโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กัญญาวีร์ ศรีบุรี. (2551,มกราคม – มีนาคม). “เศรษฐศาสตร์ข้างค่าย”. วารสารการบินทหารบก, 1(29), น. 81- 82.
ณัฏฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล. (2555). การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของครัวเรือนไทย ภายใต้โครงการเรียนฟรี 15 ปี. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดิลก ลัทธพิพัฒน์. (2554). ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษากับแนวโน้มของค่าจ้างในประเทศ. ม.ป.ท.
ตีรณ พงศ์ฆพัฒน์. (30 มิถุนายน 2557). ดุลยภาพดุลยพินิจ. มติชนรายวัน.สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2557, จาก http://nidmbe11.net/ekonomiz/2004 92/article 2004 june 30p.1 htmไทย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 21 ม.ค. 2557, จาก http://www.gotoknow .or.
แบ๊งค์ งามอรุณโชติ และ ถิรภาพ ฟักทอง. (2555). สูงต่ำไม่เท่ากัน “ทำไมการศึกษาจึงเหลื่อมล้ำ”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด
ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง. (2554) เอกสารคำสอนรายวิชาบริหารงานคลังและงบประมาณ. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (กุมภาพันธ์ 2555). “ยกเครื่องการศึกษาไทยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” เอกสารนำเสนอในที่ประชุม:ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: ที่มาและทางออก,กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พลภัทร บุราคม. (2556). รายจ่ายสาธารณะ ประสิทธิภาพในการจัดสรร และประสบการณ์ระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สมุทรปราการ: บริษัท ดี.เค.ปริ้นติ้งเวิลด์ จำกัด
พูลนิจ ปิยะอนันต์ และ สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2546). การวิเคราะห์นโยบายความเหมาะสมทางด้านการใช้จ่ายของรัฐบาลในสาระวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมธี ครองแก้วและคณะ. (2547). www.nidambe 11.net/ekonomiz/2004q2/article 2004 june 30p1/htm.ในมติชนออนไลน์.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ .(2544 ). การศึกษา ทุนนิยม แลโลกานุวัตร.กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2543). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาดา ตั้งทางธรรมและชนะ กมลภัทรกุล. (2546). สินค้าสาธารณะและผลกระทบภายนอกในสาระวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสนับสนุน ค่าใช้จ่ายในการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์.และปัทมา อมรสิริสมบูรณ์. “ความไม่เท่าเทียมด้านการศึกษา : เมืองและชนบท” ในประชากรและสังคม 2550. วรชัย ทองไทยและสุรีย์ พันพึ่ง: บรรณาธิการ (นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม, 2550).
Massianand Jérôme & Gabriele Picco. (2013). The opportunity Cost of Public Funds: Concepts and Issue. France: Public Financial Publication, Inc.
Shipman Marten . (1989). Education As A Public Service. London: Butter&Tanner Ltd.
Farish Maureen and others. (1995). Equal Opportunuties in Colleqes and Universities Toward Better Practices. USA : SRHE and Open University Press.
Meyer Thomas & Breyer Nicole (2005). The Future of Social Democracy. แปลโดยสมบัติ เบญจศิริมงคล.(2550).อนาคตของสังคมประชาธิปไตย.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท.
UNESCO. (2003). EFA Globol Monitoring Report 2003 “Education for All”. (The United Nation) Educational Sciencific and Culture Organization. Paris: Graphoprint.