ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษา หมู่บ้านก่อตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

มินตรา สาระรักษ์
ปัณฑิตา สุขุมาลย์
กาญจนา ชัยวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยหมดระดูบ้านก่อ ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มประชากรสตรีวัยหมดระดูจำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ผลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

จากการศึกษาพบว่า สตรีวัยหมดระดูมีความรู้ในระดับดี ร้อยละ 81.2 โดยส่วนใหญ่มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพสำหรับสตรีวัยหมดระดู แต่มีบางส่วนเข้าใจผิดว่า สตรีวัยหมดระดูไม่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม (ร้อยละ 65.6) สตรีวัยหมดระดูมีทัศนคติต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 64.1) และพบว่า สตรีวัยหมดระดูมีความเชื่อที่ผิดว่าการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้กระดูกและข้อแข็งแรงได้ (ร้อยละ 56.2) ส่วนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.9) ยังพบว่าสตรีวัยหมดระดูบางส่วนมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม คือไม่เคยกินปลาอย่างน้อยวันละ 1 มื้อ (ร้อยละ 56.2) ไม่เคยออกกำลังกายโดยการ เดินเร็ว ขี่จักรยาน เต้นแอโรบิก หรือทำงานบ้าน ไม่ต่ำกว่า 30 นาที/ครัง้ (ร้อยละ 56.2) และไม่เคยกินผักใบเขียวมากกว่า 3 ทัพพีต่อวัน ร้อยละ 51.6 และยังพบอีกว่าสตรีวัยหมดระดูบางส่วนรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ (ร้อยละ 43.8)

สตรีวัยหมดระดูส่วนใหญ่มีความรู้และทัศนคติในระดับที่ดี แต่มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในระดับปานกลาง ดังนั้นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขควรมีแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มของสตรีวัยหมดระดูโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริโภคอาหาร และบุคลากรสาธารณสุขควรมีการพัฒนาทักษะในด้านการให้คำแนะนำแก่สตรี ให้ทุกคนตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยหมดระดู ตลอดจนปรับกลวิธีในการให้บริการส่งเสริมสุขภาพทั้งในเชิงรุกและเชิงรับสำหรับวัยหมดระดูในพื้นที่ชนบทให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สตรีวัยหมดระดูมีสุขภาพที่ดี

 

Knowledge, Attitude and Health Behavior towards Post Menopause Women : A Case study in Bankuo Village, Nonghi Sub-District , Aumphur Uthumpornpisai District, Srisaket Province.

The purposes of this descriptive study were to study the knowledge, attitudes, and health behavior of post-menopausal women in Bankuo Village, Tambol Nonghi , Aumphur Uthumpornpisai, Srisaket Province. The study involved 64 postmenopausal women. Questionnaire for Interview was used to collect the data. Frequencies, percentages, minimums, maximums, means, and standard deviations were used for descriptive data analysis. Results indicated that 81.2% of postmenopausal women had a good level of knowledge and most had good knowledge about health promotion for post-menopausal women, but 65.6% answered wrongly about post-menopausal women’s risks of breast cancer and cervical cancer. Of the sample, 64.1% had a good level of attitudes about health promotion, but 56.2% had the incorrect attitude that strong bones and joints can be built by exercise only. Just under half (46.9%) had an average level of health behavior, but 56.2% never ate fish at least 1 time per day, 56.2 never exercised by riding a bicycle, aerobic dance, or housework, 51.6% never ate green vegetables, and 43.8% never ate foods from the 5 food groups. The study concluded that post-menopausal women had good knowledge and good attitudes about health promotion for post-menopausal women but an average level of health behavior. This suggests that public health staff should promote correct health behavior for post-menopausal women, especially about food consumption. Public health staff should develop instructional skills and promote activities for post-menopausal women in the community to encourage them to be concerned about their own heath care.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)