กรณีศึกษาชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี: ความเป็นไปได้ในการขยายผล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ต้องการนำเสนอถึงกระบวนการก่อตั้งรูปแบบและวิวัฒนาการของชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นชุมชนชาวบ้านแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ในรูปแบบที่ยังไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อน เป็นการวิจัยที่ใช้รูปแบบวิธีวิทยาการวิจัยแบบกรณีศึกษา ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบพัฒนาการและวิถีที่เกิดขึ้นในชุมชนและที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของชุมชน โดยการพยายามสะท้อนภาพให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ข้อมูลหลักของการศึกษาครั้งนี้มาจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอข้อมูลของการวิจัยเป็นการบรรยายเชิงพรรณนา ซึ่งจะทำให้ได้ภาพในเชิงลึกและกว้าง เพื่อให้เห็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการก่อตั้งชุมชนได้มากที่สุด ผลของการวิจัยได้ทำให้เกิดความเข้าใจในการจัดตั้งชุมชน รวมทั้งได้ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนแห่งนี้ ซึ่งเป็นชุมชนหมู่บ้านแห่งแรกที่เป็นทั้งแหล่งปฏิบัติ สถานศึกษา และศูนย์วิจัย ที่อยู่ในพื้นที่ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรก ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในอนาคต และการประเมินความเป็นไปได้ในการขยายผลไปสู่มหาวิทยาลัยอื่น
A Study of A. Community for Practicing Sufficiency Economy, Ubon Ratchathani University : A Possibility for further Reaplication
The main aim of this study was to describe the involvement of Ubon Ratchathani University and a group of villagers in the establishment of a sufficiency economy commune in the grounds of the university campus via a case study of the established community. The focus of the study was on the understanding of the community building processes, development model, and patterns of community management. Data were collected by questionnaires, in-depth interviews, participatory observation, and documents. Results provided an overview of the established community and the synergies of the development between the university and the community. The case study highlighted how the community operates as an open-air laboratory for students and university researchers. The community’s success was evaluated via the objective of the establishment. The study showed the possibility of establishment of other communities.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว