รูปแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธนาคารสัจจะออมทรัพย์ บ้านศรีไคออก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

รัชนี แสงศิริ
ดุสิต ศรีสร้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการดำเนินงานของธนาคารสัจจะออมทรัพย์ รูปแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่เหมาะสมกับการทำงานของธนาคารสัจจะออมทรัพย์และความสำเร็จของการนำระบบสารสนเทศทางการบัญชีมาใช้กับการพัฒนาประสิทธิภาพของธนาคาร สัจจะออมทรัพย์บ้านศรีไคออก โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พื้นที่การวิจัยคือกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านศรีไคออก หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการธนาคารกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านศรีไคออกจำนวน 9 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต และโปรแกรมทางการบัญชีที่สร้างขึ้นโดยภาษา PHP และระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลแบบ MySQL

ผลการวิจัยพบว่า ธนาคารมีปัญหาในการดำเนินงาน 2 ด้านคือ ด้านการจัดการระบบเอกสาร และด้านการปฏิบัติงานและการควบคุมภายใน ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดย การนำระบบสารสนเทศทางบัญชีที่เข้าใจง่าย สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 8 ระบบ คือ 1) ระบบการฝาก-ถอนเงิน 2) ระบบการกู้เงิน 3) ระบบสินทรัพย์ 4) ระบบรายการประจำวัน 5) ระบบปันผล 6) ระบบบัญชี 7) ระบบผังบัญชี และ 8) ระบบข้อมูล โดยแต่ละระบบจะมีการกำหนดข้อมูลนำเข้า กระบวนการทำงานของระบบ และผลที่ได้รับจากระบบ มีการเชื่อมโยงระหว่างระบบด้วยกันเองเพื่อให้ประมวลผลได้ง่าย หลังจากมีการนำระบบมาใช้ทำให้คณะกรรมการธนาคารมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของธนาคารดีขึ้น

 

Introducing an Accounting Information System: A Case Study of Sajja Savings Bank, Ban Srikai Aok, Ubon Ratchathani

This research aimed to investigate the operations of Sajja Savings Bank of Ban Srikai Aok,, Moo 4 in Warinchamrab, Ubon Ratchathani Province, to introduce an accounting information system (AIS) suitable and compatible with the operations of the bank, and to assess the implementation of AIS at the bank. This research employed quantitative and qualitative methods. Data were collected from 9 members of the bank’s committee selected by purposive sampling using questionnaires, interviews, and observations together with PHP/MySQL. Results showed that the bank had 2 operational problems, its document management system, and operation process and internal control. The research sought to solve these problems by the implementation of an efficient AIS. This consisted of 8 subsystems: 1) deposit/withdrawal, 2) loan, 3) asset, 4) journal, 5) dividend, 6) accounting, 7) chart of accounts, and 8) data. Each system had its own requirements in terms of input data, operation process, and system output. All systems had to be linked and to work properly for the bank’s operations. After implementation operations improved and the bank’s committee was satisfied with performance.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)