การศึกษาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมผลิตพยาบาลเพื่อชุมชน ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล
เสาวนีย์ ทรงประโคน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และรูปแบบในการร่วมผลิตพยาบาลของชุมชน ภายใต้แนวคิดกลไก 3 ประสาน ผ่าน 6 ระบบหลัก ใช้รูปแบบการวิจัย เชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ระยะ คือ ก่อนและหลังการเข้าศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้แบบสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยการสำรวจศักยภาพและความพร้อมจากผู้แทนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร 37 แห่ง จำนวน 37 คน สัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 106 คน ผู้แทนของโรงพยาบาลร่วมผลิตในพื้นที่จำนวน 12 คน ผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน นักศึกษาพยาบาลในโครงการร่วมผลิตพยาบาลเพื่อชุมชนและผู้ปกครอง จำนวนอย่างละ 12 คน ผลการศึกษา ก่อนเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียน พบว่า ระหว่างพ.ศ. 2553-2556 อปท. ใน 4 จังหวัด มีแผนการส่งนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 139 คน มี อปท. บางส่วนที่พร้อมสนับสนุนทุนการศึกษาและมีกรอบอัตรากำลังรองรับในการจ้างพยาบาล ภายหลังรับนักศึกษาในโครงการฯ จำนวน 12 คน เข้าเรียนในรุ่นที่ 1 พ.ศ. 2553 พบว่า นักศึกษาของโครงการฯ ใช้แนวทางกลไก 3 ประสาน ผ่าน 6 ระบบหลัก ไม่เป็นไปตามที่ได้วางแนวทางร่วมกันก่อนการเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียน ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกแบบมีส่วนร่วม อบต./โรงพยาบาล ที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษา มีเพียง 2 แห่ง โรงพยาบาลที่ยืนยันรับผู้สำเร็จการศึกษาเข้าทำงาน จำนวน 5 แห่ง มีการกำหนดตำแหน่งไว้รองรับเมื่อสำเร็จการศึกษา จำนวน 2 แห่ง ดังนั้นเพื่อให้นักศึกษามีคุณลักษณะบัณฑิตตามที่พึงประสงค์ องค์กรหุ้นส่วนทั้ง 3 แห่ง คือ อปท. โรงพยาบาลและคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ 12 หุ้นส่วน เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ในการร่วมผลิตพยาบาลเพื่อชุมชน

 

Study of Local Administrative Organizations’ Potential to Produce Community Nurses in the Faculty of Nursing at Ubon Ratchathani University

The goals of this research were to examine the potential of Local Administrative Organizations (LAO) to produce community nurses and to identify a feasible educational model to achieve this through a 3-way partnership involving six operating systems. The study used qualitative and quantitative approaches. Data were collected by the use of survey questionnaires and in-depth and focus group interviews. Pre- and post-admission data were collected from students who entered the Faculty of Nursing through the partnership program. The research sample included 106 representatives from 37 LAO from 4 provinces, 12 program-affiliated hospitals, 2 policy or budget stake-holding institutions, and 12 nursing students in the program and their parents. Results showed that LAO in the four provinces would be ready to participate in this program in the 2010 academic years through to 2013 and were willing to recruit 139 candidates for admission to the program. Some LAO were ready to provide financial support and had recruitment plans for future registered nurses. In the 2010 academic year some of the 12 students were not endorsed by the community committees. One LAO and one hospital offered scholarships to students. Five hospitals offered employment after graduation. Two LAO pre-specified professional positions for future graduates. Twelve representatives from three partner organizations, LAO, community hospitals, and the Faculty of Nursing, Ubon Ratchathani University signed a Memorandum of Understanding (MOU) to jointly produce community nurses who met expected qualifications.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)