พฤติกรรมการผู้บริโภคและปัจจัยในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อทราบและเข้าใจลำดับความสำคัญของปัจจัยด้านการตลาดและปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ของผู้บริโภคในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 420 ชุด เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ไม้ไ ผ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ในการซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นั้นส่วนใหญ่ซื้อไว้ใช้เอง รองลงมาคือ ซื้อเพื่อเป็นของฝาก ส่วนเหตุผลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่นั้นพบว่า เลือกซื้อเพราะราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และชื่นชอบในรูปแบบ คิดเป็นร้อยละ 21.1, 20.8 และ 17 ตามลำดับ และเหตุผลที่ไม่นิยมใช้ตัดสินใจในการเลือกซื้อคือ ความหลากหลายในรูปแบบ คิดเป็นเพียงร้อย ละ 9.5
ส่วนพฤติกรรมการซื้อของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ พบว่า ผู้บริโภคซื้อมากกว่า 1 ครั้งต่อปี โดยมีระยะเวลาในการใช้สินค้าแต่ละชิ้นมากกว่า 1 ปี โดยมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ใช้สินค้าคือ คุณแม่ นอกจากนั้น ผู้ที่แนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่มักจะเป็นคนในครอบครัว แต่ผู้ซื้อเป็นผู้ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง และส่วนใหญ่นำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ไปใช้ที่บ้านของตน
ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ พบว่า ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด หรือ 4 P’s คือ ผลิตภัณฑ์ (Product), ราคา (Price), ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ พบว่า ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ “มีความเป็น เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย” รองลงมาคือ “เป็นค่านิยมของสังคมไทย” และ “ผลิตภัณฑ์ช่วยสร้างการยอมรับในกลุ่ม” ปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยทางการตลาดและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อนั้น พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่มากที่สุด คือ “ความมีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย” (Mean = 3.52) รองลงมาคือ “คุณภาพของผลิตภัณฑ์” (Mean = 3.34) และ “ความเหมาะสมของราคาผลิตภัณฑ์” และ “ค่านิยมในการใช้สินค้าไทย” (Mean = 3.32)
Consumers’ Behavior and Buying Decision Factors in the Purchase of Bamboo Products in North-East Thailand
The purposes of this research were to understand consumers’ behavior in the purchase of bamboo products and to investigate marketing and environmental factors involved in the making of decisions to buy bamboo products in North-East Thailand.
The study used a questionnaire to collect data from 420 buyers of bamboo products in 7 provinces of North-East Thailand. Results found that consumers bought the bamboo products mainly for their own use and as souvenirs. Reasons given for buying the products were that they were cheap (21.1%), convenient to buy (20.8%), had good product designs (17%), and there was variety in product design (9.5%). Regarding purchasing behavior, consumers bought more than once per year and the products were used over the year, females were the main consumers, buyers were often introduced by a member of their family, most made their own decisions to purchase, and most used the bamboo products in their houses. Marketing factors that affected the decisions to purchase bamboo products focused on the 4 P marketing mix of factors (Product, Price, Place and Promotion). The environmental factor that most affected the buying decision was “the uniqueness of Thai culture,” followed by “the value of the Thai,” and “products helping make social acceptance.” Of all categories of factors, “the uniqueness of Thai” (mean = 3.52) appeared to have the most influence on purchasing decisions, followed by “product quality” (mean = 3.34), and “the suitability of the product price” and “the values of using Thai products “ (mean = 3.32).
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว