ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบนักศึกษามีส่วนร่วม: กรณีศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ตรีเนตร สาระพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบนักศึกษามีส่วนร่วมของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยใช้วิธีการเสวนากลุ่มมุ่งหวัง โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 49 คน และจากการสัมภาษณ์นักศึกษา เจ้าหน้าที่ อาจารย์ ผู้บริหารคณะนิติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน การศึกษาวิจัยพบว่า การเรียนในคณะส่วนใหญ่จะใช้การบรรยายของอาจารย์เพียงอย่างเดียว โดยนักศึกษามีโอกาสน้อยที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนแบบ นักศึกษามีส่วนร่วมเกิดจากห้องเรียนที่ใหญ่เกินไป ปัญหาจากเทคนิคและวิธีการสอนที่เน้นบรรยายเพียงอย่างเดียว (แบบ one way) ปัญหาจากทัศคติของนักศึกษาและจากทรัพยากรที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ส่วนแนวทางการจัดการเรียนแบบนักศึกษามีส่วนร่วม นั้น ในเบื้องต้นต้องเปลี่ยนทัศนคติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยนำแนวทางในแบบของประเทศอังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกาบางส่วนมาใช้ คือจะต้องมีกระบวนการทำให้นักศึกษาได้มีส่วน “ร่วมเรียน” “ร่วมแสดงความคิดเห็น” “ร่วมวิจารณ์” (two way) หรือการได้ลงมือปฏิบัติงานทางด้าน กฎหมายจริง นอกจากนั้นควรกระตุ้นให้นักศึกษาเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน อันเป็นกระบวนการที่ทำให้นักศึกษามีความพร้อมในการมีส่วนร่วม ทั้งยังจะทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น และอยากมีส่วนร่วมในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น กระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมในการเรียนการสอนต่อไป

 

Problems, Obstacles, and Approaches to Participatory Learning: A Case Study of the Faculty of Law, Ubon Ratchathani University

This research aimed to identify problems in students’ participatory learning in the Faculty of Law at Ubon Ratchathani University. The study used a focus group with 49 participants and interviewed students, officers, teachers, members of the faculty executive, and 11 experts. Results showed that lectures were presented by teachers and students appeared not to have opportunities to participate in learning, teaching, and management. Problems arose due large numbers of students in the classes, one-way teaching techniques, students’ attitudes, and inadequate learning resources. To achieve effective participatory learning, the study suggested that the British and American curricula needed to be used as guidelines, allowing students to be able to participate in learning, commenting, criticizing, and doing practical activities. Also, teachers should encourage students to study before attending class to allow them to be able to participate more effectively, be more enthusiastic in learning, and become part of a learning culture.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)