กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์

Main Article Content

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร โดยแสดงเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร โดยแสดงเป็นโอกาสและอุปสรรคขององค์กร ซึ่งทั้งหมดจะต้องเทียบเคียงกับคู่แข่ง จากนั้นจึงนำมาสังเคราะห์เป็นแผนกลยุทธ์ขององค์กร และเชื่อมไปสู่การประเมินความจำเป็นในการพัฒ นาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสามารถกำหนดขอบเขตได้ 1-3 รูปแบบ ได้แก่ การพัฒนาส่วนบุคคล การพัฒนาแบบทีม และการพัฒนาแบบทั้งองค์กร ซึ่งแต่ละรูปแบบสามารถจำแนกด้านที่ต้องการพัฒนาได้ 1-8 ด้าน ได้แก่ด้านศาสนา สุขภาพ สติปัญญา ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ประสบการณ์ และบุคลิกภาพ จากนั้นจึงแบ่งแต่ละด้านออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับก้าวหน้า ระดับพัฒนา และระดับปฏิบัติ และกำหนดรูปแบบ และรายละเอียดการพัฒนา แล้วจึงทำการทดสอบก่อนการพัฒนา และดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และเมื่อเสร็จสิ้นจะต้องมีการประเมินการพัฒนาทั้งเชิงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

 

The Process of Strategic Human Resource Development

The objective of this article was to present the process of strategic human resource development. The first step is to analyze the internal environment of an organization covering its strengths and weaknesses and analyze external environment to investigate its opportunity and threat by benchmarking with other organizations. Then, the data would be synthesized to develop a strategic plan and linked to need assessment. The HRD would consist of individual development, team development, and organization development. Additionally, each type could be divided into 1-8 aspects: religion, health, intelligence, knowledge, skill, attitude, experience, and personality. Then, each aspect would be divided into 4 levels: expert level, advanced level, developed level, and implement level. After that, types and details of HRD would be formed so that the plan would be post-tested and implemented according to the plan. Lastly process, is evaluation in terms of efficiency and effectiveness to provide further improvement.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)