บูรณาการ วัด บ้าน โรงเรียน ศาสตร์และศิลป์แห่งการพัฒนาชุมชน

Main Article Content

ขวัญดิน สิงห์คำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาแบบบูรณาการที่เริ่มต้นที่ครอบครัว ชุมชน วัด และโรงเรียน ของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศกและโรงเรียนสัมมาอาชีวสิกขาศีรษะอโศก ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะการจัดการศึกษาแบบบรูณาการ บ้าน วัด โรงเรียน ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้การบูรณาการการศึกษาสมบรูณ์ยิ่งขึ้น โดยผู้วิจัยศึกษาหลักการแนวคิดทางพระพุทธศาสนา หลักการบูรณาการการศึกษา และหลักการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก ซึ่งใช้การบูรณาการ บ้าน วัด โรงเรียน โดยศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการศึกษา ตลอดจนปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศกด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลของการศึกษาพบว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรมผ่านการเรียนรู้ร่วมกันของ วัด บ้าน โรงเรียน จากการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันและกิจกรรมทางด้าน จริยธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรมประจำปีของชาวอโศก นักเรียนที่ผ่านการศึกษาตามรูปแบบของชาวอโศกจะได้รับการฝึกหัด และพัฒนาด้านศีลธรรม คุณธรรมและงานวิชาชีพที่เป็นงานไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เพื่อให้สามารถเลี้ยงตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้ปกครองนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาพึงพอใจในการจัดการศึกษาเพราะเป็นการจัดการศึกษาที่มีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากตัวอย่างจริงไม่ไช่การทดลอง สร้างและพัฒนาผู้เรียนให้มีความเห็นที่ถูกตรง (สัมมาทิฐิ) ในเรื่องต่างๆ ของชีวิตตามแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยมี สมณะ สิกขมาตุ คุรุ และชาวชุมชน เป็นต้นแบบที่ดีในการทำงานฟรี ตั้งใจและเต็มใจในการทำงาน พร้อมทั้งเป็นแบบอย่างในการทำงานอย่างเสียสละ

แต่จากการศึกษายังพบอีกว่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา คือ ขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาที่จะมาทำหน้าที่รับการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและมีกิจกรรมมากทำให้การเรียนด้านวิชาการมีเวลาเรียนน้อยลง

 

Integration of temple, home, school art and science of community development

The purpose of this research was to study the integrated education management model that began at family, community, temple and school of Samma Sikkha Sisa Asoke School and Samma Ajiva Sikkha Sisa Asoke. School’s characteristic provided integrated education management among home, temple, school that enabled to promote the integrated education to be more completed. The researcher had studied about Buddhism ways of thinking, integrated education principles and the real application of practical knowledge principles in order to apply to learning and studying process of Samma Sikkha Sisa Asoke School which applied the integration among home, temple and school by studying learning and teaching process.

The results of the study management and factors that support and factors that were obstacles towards education management of Samma Sikkha Sisa Asoke on qualitative research found that:

The education management of Samma Sikkha Sisa Asoke emphasized on moral principles that applied through collaborative learning of temple, home and school.

Various activities were applied in daily life and activities on ethics, morals, and yearly culture of Asoke community were also applied. According to various activities applied on ethics, morals, and yearly culture of Asoke community in daily life, students who had experienced the Asoke education model would be trained and developed on moral precepts, morals and vocational subject which refrained them from taking advantages over others. And to enable them to depend on themselves and were able to assist others as well. They were also able to live happily in their society. Their guardians, themselves and educational personnels were satisfied on education management because this educational management provided them with both theoretical and practical principles from the examples of real life not just the experiment ones. Moreover, this educational management had created and developed learners to have right opinion (Samma thiti) in various subjects related to Buddhism ways of life under the leadership of Samana Sikkha Matu, Teacher and community members who set good examples to be followed. They had wholeheartedly dedicated themselves to work without payment, set firm attention and worked with their determination.

However; lacking of educational personnels who would do their duty on taking good care of students in order to enable them to learn continually all the time, too many activities that caused the decreased of academic learning were also found to be the obstacles towards education management.

The Integrated Education For Individuals and Community Development : A Case Study of Samma Sikkha Sisa Asoke School

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)