การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตก๊าซหุงต้ม ของชุมชนศีรษะอโศกจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

แก่นฟ้า แสนเมือง

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตก๊าซหุงต้มของชุมชนศีรษะอโศก จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการศึกษาที่มุ่งค้นหาคำตอบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอย มีรูปแบบอย่างไร เก็บข้อมูลโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มเจาะจง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบข้อสรุปที่สำคัญ 3 ประการ คือ หนึ่ง การสร้างความตระหนักและทัศนคติให้เห็นว่า “ขยะคือทอง” มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างชัดเจน สอง เทคโนโลยีที่เหมาะสมและพลังของศีลสมาธิ ปัญญานำไปสู่วิสัยทัศน์ “ขยะเป็นทองและเป็นธรรม” เป็นปัจจัยสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน สาม ความยั่งยืนของการมีส่วนร่วมของชุมชนเกิดจากการ “ผุดบังเกิดของ จิตสำนึกสาธารณะ” ภายใต้การครบบรรจบของ “ศีล สมาธิ ปัญญา” จากการวิเคราะห์จะเห็นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนศีรษะอโศกจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผลของการสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหาของขยะว่า เป็นทุกข์ร่วมกันของชุมชนทำให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติต่อขยะว่า เป็นสิ่งมีคุณค่าต่อการปฏิบัติธรรมตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา มีผลสำเร็จคือการ “ผุดบังเกิดของจิตสำนึกสาธารณะ” ของชุมชนมากขึ้นๆ ตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืนในอีกหลายประเด็นปัญหาในที่สุด

 

Solid Waste Management Participation for Cooking Gas Production of Srisa Asoke Community in Si Sa Ket Province

Solid Waste Management Participation for Cooking Gas Production of Srisa Asoke Community in Si Sa Ket Province is aimed to study how the process of solid waste management participation is created. Data collected by applying the focus group discussion, in-depth interview and participatory observation. The study revealed three significant conclusions : Firstly; The creation of awareness and attitude as that “garbage is gold” is related to community participation clearly. Secondly; The appropriate technology and the power of precept, meditation and wisdom has led to the vision as “Garbage is gold and Dharma” which is the important factor of community participation. Thirdly; The sustainable of community participation revealed and confirmed form “emergence of public consciousness” which happened under the convergence of precept, meditation and wisdom. The analysis assumed that community participation of Srisa Asoke Community, Si Sa Ket province is resulted from the awareness of garbage is a common problem leading a change of attitude that waste is a valuable practice of precept, meditation and wisdom. The success is the “emergence of public consciousness” of the community has gained more and more respectively, leading to sustainable community involvement in many issues finally.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)