การจัดการพัฒนารูปแบบวนเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาเกษตรกรใน 4 อำเภอของจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วัลลภ จันดาเบ้า
สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควรศึกษารูปแบบวนเกษตรที่เหมาะสมของเกษตรกร จังหวัดอุดรธานี และเพื่อการศึกษาแนวทางการปลูกป่าในพื้นที่ของเกษตรกร ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative data) จากกลุ่มเกษตรกร จำนวน 96 คน จาก 4 อำเภอของจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย (อำเภอเมือง อำเภอวังสามหมอ อำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านดุง) ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรที่ทำวนเกษตรมีรูปแบบการจัดการวนเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากความรู้ ประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนเดียวกันและต่างชุมชน แล้วนำความรู้มาต่อยอดและยกระดับความรู้ที่มีให้เหมาะสมกับตนเอง จากการศึกษาพบ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบพื้นฐาน เป็นความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว เลี้ยงตนเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 2) รูปแบบก้าวหน้าเป็นความพอเพียงระดับชุมชนและองค์กร รวมตัวกันในรูปแบบสหกรณ์ในการผลิตการตลาด และการจัดการบนพื้นฐานของแนวทางเศรษฐกิจความพอเพียง

 

The Development of Agro-forestry by the Sufficiency Economy Model : A Case Study of Farmers in Four Districts of Udon Thani Province

This research aimed to study the appropriate development of a model of agro-forestry for farmers in Udon Thani province. The qualitative study was conducted from 2009 to 2011 and involved 96 farmers from four districts in the province – Amphur Muang, Amphur Wang Sam Mo, Amphur Kum Pha Wa Pi, and Amphur Ban Dung. The results of the research found that farmers practised agro-forestry following the ideas of Sufficiency Economy which were obtained from their knowledge, direct experiences, and the exchange of information with their own and other communities. The knowledge was then developed and adapted to their environment. Two patterns were identified, a primary pattern in which farmers had sufficient resources to feed themselves and their families without unnecessary expenses, and a progressive pattern in which farmers had sufficient resources for their communities and organizations which were co-operatives promoting production, marketing, and management under the idea of Sufficiency Economy.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)