รูปแบบการพัฒนาทักษะการผลิตรายการโทรทัศน์ชุมชนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเยาวชน ชุมชนราชธานีอโศก

Main Article Content

ถึงดิน มุ่งมาจน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อหารูปแบบการพัฒนาทักษะการผลิตรายการโทรทัศน์ชุมชนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเยาวชน ผู้เข้าร่วมในการวิจัย คือ กลุ่มเยาวชนผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ชุมชนราชธานีอโศก จำนวน 12 คน ผู้ดูแลเยาวชนจำนวน 2 คนและกลุ่มผู้ ผลิตสารคดีอิสระมืออาชีพ 4 คน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเยาวชน คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งการพัฒนาทักษะภาคสนาม การอบรมจากวิทยากรที่มีประสบการณ์ การพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มเยาวชน การเรียนรู้จากนักข่าวอาชีพ การเรียนรู้จากสื่ออื่นและการประชุมวางแผนการพัฒนาร่วมกันระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่ วงจรของการพัฒนาทักษะภาคปฏิบัติคือ 1) การประชุมแบ่งหน้าที่การทำงาน 2) การลงมือปฏิบัติ 3) การเผชิญปัญหา 4) การหาความรู้และพัฒนาทักษะเพิ่มเติม 5) การตัดสินใจแก้ปัญหา 6) การสรุปองค์ความรู้จากการปฏิบัติทักษะที่สำคัญในการพัฒนาเยาวชน 6 ทักษะคือ 1) ทักษะการเข้าใจตนเอง 2) ทักษะการมีจิตใจอ่อนโยนและเปิดกว้าง 3) ทักษะการเห็นและศิลปะในการมอง 4) ทักษะการฟัง 5) ทักษะการพูด การใช้เสียงและการบรรยาย 6) ทักษะการเข้าใจสัมพันธภาพของตนเองกับสิ่งแวดล้อม ภาพที่ตนถ่าย บุคคลที่ตนสัมภาษณ์และผู้รับชมข่าวสาร ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการพัฒนาคือ การเปิดใจรับของเยาวชนและการเข้าใจความแปรปรวนในอารมณ์ซึ่งเป็นธรรมชาติเยาวชน

 

Young People’s Development of Skills as Producers of Ratchathani Asoke Community Television Programs and this Process’ Harmony with Adolescent Development

The purpose of this research was to investigate a model of young people’s skills development in the production of Ratchathani Asoke community TV programs harmonious with the stages of adolescent development. The study involved 12 young people, the Ratchathani Asoke community’s TV programs production team, 2 supervisors, and 4 independent professional TV documentary producers.

The results showed that the development of a model harmonious with the stages of young people’s development relied on learning management which provided multiple skill experiences, incorporating fieldwork, training from experts, group discussions, learning from professional journalists and other media personnel, and planning and coordination between adults and young workers. The cycle of skills development in practice consisted of: 1) Job delegation, 2) Practices, 3) Problemfacing, 4) Knowledge and skills enhancement, 5) Problem-solving, and 6) The body of knowledge obtained from practices. The essential skills for youth development were found to be: 1) Self-recognition, 2) Gentleness and open-mindedness, 3) Vision and Art of visualizing, 4) Listening, 5) Art of narration and storytelling, and 6) Understanding of the relationship between oneself and the surrounding context, such as photos taken, interviewees, and audiences. The important factors relevant to the effectiveness of the development were the acceptance from young people and the perception of changes in mood as common behavior in adolescents.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)