ผลกระทบของมลภาวะทางแสงต่อการบริการสาธารณะด้านการศึกษาวิจัยดาราศาสตร์: แนวทางในการแก้ไขปัญหามลภาวะทางแสงโดยอาศัยการบัญญัติข้อบัญญัติท้องถิ่น

Main Article Content

ปีดิเทพ อยู่ยืนยง

บทคัดย่อ

จากการขยายตัวของชุมชนเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟประเภทต่างๆ ในเวลากลางคืนเพิ่มขึ้น ซึ่งการใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในเวลากลางคืนอาจก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงที่เกิดจากการใช้งานแสงประดิษฐ์ที่สว่างจ้าเกินสมควรและแสงประดิษฐ์ที่เกิดจากการออกแบบหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ มลภาวะทางแสงที่เกิดจากการใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนเมือง อาจก่อให้เกิดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงพื้นที่เพื่อการศึกษาวิจัยดาราศาสตร์ด้วย ซึ่งมลภาวะทางแสงส่งผลเสียต่อกิจกรรมดาราศาสตร์ โดยมลภาวะทาง แสงได้ทำลายบรรยากาศและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในเวลากลางคืน ทำให้มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นดวงดาวด้วยตาเปล่า นอกจากนี้ มลภาวะทางแสงยังได้ลดประสิทธิภาพของกล้องโทรทรรศน์ อันเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักดาราศาสตร์และสถานีวิจัย ดาราศาสตร์ในการสังเกตปรากฎการณ์ทางธรรมชาติบนท้องฟ้า แม้รัฐบาลหลายประเทศได้กำหนดให้การศึกษาวิจัยดาราศาสตร์ของภาครัฐเป็นส่วนหนึ่งของการบริการสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ตาม อย่างไรก็ดี การขยายตัวของมลภาวะทางแสงจากชุมชน เมืองที่อยู่ใกล้บริเวณสถานีวิจัยดาราศาสตร์ของรัฐหรือองค์กรของรัฐ ย่อมส่งผลกระทบต่อกิจกรรมดาราศาสตร์อันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำบริการสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องแสวงหาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์และค้นคว้าวิจัยทางดาราศาสตร์เพื่อนำ ความรู้มาพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ ดังนั้น มลรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของหลายประเทศจึงได้กำหนดข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นการเฉพาะขึ้น เพื่อควบคุมมลภาวะทางแสงไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่ดำเนินกิจกรรมบริการสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการศึกษาดาราศาสตร์ โดยกำหนดมาตรการในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นหลายประเภท เช่น การกำหนดพื้นที่ควบคุมมลภาวะทางแสงและการกำหนดให้ประชาชนติดตั้งและใช้หลอดไฟฟ้า หรือโคมไฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

Light Pollution and Astronomical Observatories: Guidelines for By-laws to Reduce Light Pollution Problems

The use of artifi cial light at night from light bulbs and lamps can have a detrimental effect on the quality of the night environment. Light pollution problems are the result of excessive or obtrusive illumination or poor light design and fi xtures. Hence, it arises from a combination of lighting illumination and energy usage including extensive urban expansion. Consequently, unwanted light pollution that illuminates the nighttime sky can impact on the ecological environment, natural resources, human health, and astronomy observatories. Light pollution reduces the ability of the naked eye to see stars and the capabilities of telescopes of astronomers and observatory bases and its rapid growth threatens the night environment of amateur and professional astronomical observers. Many national governments have established public astronomical observations as parts of public service promoting interest and education in astronomy and related sciences. However, light pollution from extensive urban expansion can affect this public service. Thus, many state governments and local authorities have established specifi c local legislation dealing with light pollution and astronomical observatory areas, such as legal measures dealing with exterior lighting controls and exterior light design and fi xtures within developments.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)