การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของสมาชิกครัวเรือน กับรูปแบบการบริโภคของครัวเรือนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มุ่งเน้นเชื่อมโยงประเด็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของสมาชิกครัวเรือนกับรูปแบบการบริโภคของครัวเรือนไทย ประกอบด้วยระดับการบริโภค แบบแผนการบริโภค และความแตกต่างด้านการบริโภคของครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลการบริโภคต่อหัวผู้ใหญ่สมมูลของครัวเรือนจากการสำรวจภาวะสังคมและเศรษฐกิจครัวเรือน ปี 2533 เปรียบเทียบกับปี 2552 ผลการศึกษา พบว่า 1) ครัวเรือนส่วนใหญ่มีระดับการบริโภคใกล้เคียงกับระดับการบริโภคเฉลี่ยของประเทศไทยและเพิ่มขึ้นระหว่างช่วงเวลา ยกเว้นครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีระดับการบริโภคตํ่ากว่าของระดับการบริโภคเฉลี่ยและลดลงระหว่างช่วงเวลา ตรงข้ามกับครัวเรือนที่มีเฉพาะวัยแรงงานเป็นสมาชิกครัวเรือน 2) ครัวเรือนส่วนใหญ่มีแบบแผนการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกัน ยกเว้นครัวเรือนผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ที่อยู่อาศัยและการดำเนินการในครัวเรือน และสุขภาพสูงกว่าครัวเรือนอื่น ในขณะที่สัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายตํ่ากว่าครัวเรือนรูปแบบอื่น 3) ความแตกต่างของโครงสร้างอายุ ของสมาชิกครัวเรือนเป็นที่มาของความแตกต่างด้านการบริโภคและมีความสำคัญเพิ่มขึ้นระหว่างเวลา โดย 4) ครัวเรือนผู้สูงอายุมีที่มาของความแตกต่างด้านการบริโภคจากอาหารเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การเดินทาง และสุขภาพ และ 5) ครัวเรือนเฉพาะวัยแรงงาน มีที่มาของความแตกต่างด้านการบริโภคจากอาหารและเครื่องดื่มที่ไมมี่แอลกอฮอล์ที่อยู่อาศัยและการดำเนินการในครัวเรือน และการเดินทาง ตามลำดับ
Age Composition of Households and Consumption Patterns in Thailand
This study investigated the linkage between the changes in the age composition of households and consumption levels, consumption components, and consumption differences based on the consumption per adult equivalent from the Household Socio-Economic Survey 1990 compared with 2009. The main results were as follows. Firstly, most of the households had consumption levels close to the average and these levels had raised between the two periods, except households containing elderly persons, these having consumption levels that were lower than the average and had fallen between the two periods. Secondly, most households’ consumption components on average did not differ from other Thai households, except households of elderly persons, and these had higher expenditures on housing and household activities and health but relatively less on traveling, food and non-alcohol beverages, personal expenditure, and clothing. Thirdly, differences in age composition of households were the cause of consumption differences and these became more important through time. Fourthly, the main causes of consumption differences in elderly households were food and non-alcohol beverages, traveling, and health. Finally, the main causes of consumption differences in non-dependent member households were food and non-alcohol beverages, housing, and traveling respectively.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว