“เซว่า” ใน “ครัวพระศาสดา” กับสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์: กรณีศึกษาคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา (กรุงเทพมหานคร)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปฏิบัติ “เซว่า” หรือการอุทิศตนเพื่อรับใช้สังคมของชาวซิกข์ตามหลักคำสอนในศาสนาซิกข์ สามารถปฏิบัติผ่านงานกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นกระบวนการขจัดอหังการที่มีอยู่ในตัวบุคคล ด้วยการแบ่งปัน การให้ การช่วยเหลือสังคม ถือว่าเป็นการทำบุญเพื่อลดความเห็นแก่ตัว และ “ครัวพระศาสดา” (“คุรุ กา ลังกัร”) ให้บริการอาหารสำหรับทุกคน การปฏิบัติเซว่าให้ความสำคัญกับการลงมือปฏิบัติจริง อันเป็นหัวใจสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วม
ในการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการปฏิบัติเซว่าในครัวพระศาสดา คุรุดวาราศรีคุรุสิงหส์ ภา กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์และเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจปรัชญาและกระบวนการปฏิบัติเซว่าของชาวไทยซิกข์ และความเป็นสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์ จากการเก็บข้อมูลภาคสนามทำให้ได้รายละเอียด ของการปฏิบัติเซว่า ของกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะครอบครัว การปฏิบัติเซว่า เป็นส่วนหนึ่งในการกล่อมเกลาและการถ่ายทอดอัตลักษณ์ของชาวซิกข์ “วิถีแห่งซิกข์” ให้กับเด็กไทยซิกข์ ขณะที่ครัวพระศาสดาเป็นพื้นที่ที่แสดงความเป็นสังคมวัฒนธรรม ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าครัวพระศาสดาเป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณและเป็นสัญลักษณ์ของความเท่าเทียมกัน และการบริการด้วยมือทำให้เกิดภราดรภาพในสังคมและยังเป็นการขจัดตัวตนด้วย การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติเซว่าและครัวพระศาสดา อันเป็นส่วนหนึ่งของ การทำความเข้าใจศาสนาซิกข์และสังคมวัฒนธรรมของชาวไทยซิกข์ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะนอกจากนี้ ยังเป็นฐานที่จะศึกษาเกี่ยวกับศาสนาซิกข์ในสังคมไทยต่อไป
Sewa (Social Service) in the Guru kaLangar (Free Kitchen) and Socio-cultural Features of Thai Sikhs: A Case Study in Gurdwara Sri Guru Singh Sabha (Bangkok)
Performing Sewa or self sacrifice for social service is a principle of the teaching of Sikhs which followers can do in the performance of various activities. As part of Ahankar (expelling ego), one should share and contribute to any social service. One of these services is the Guru kaLangar (free kitchen) which serves free food to all. The free kitchen is a Thai-Sikh socio-cultural way in which they express their humility and service to others. Sewa is a part of Thai Sikhs’ socialization and transfer of their identity to the younger generation and it emphasizes service though physical help, a unique concept that touches the beneficiaries’ hearts and in which anyone can participate. This qualitative research was conducted at Gurdwara Sri Guru Singh Sabha in Bangkok and aimed to understand the principle of Sewa used by Thai Sikhs and the social-cultural context of Thai Sikhs offering the free kitchen. Data were collected from various Thai Sikhs who had participated in Sewa. Results of the study showed thatthe free kitchen wasa spiritual space and a symbol of equality, and that service by handconveyed fraternity in society and rejected the ego.These results led to a better understanding of Sewa, the importance of the free kitchen in Sikhism, and their socio-cultural identity. In addition, this study provided a database for further study on other aspects of Sikhism in Thai society.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว